4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

เชิญผู้สนใจศึกษารายงานฉบับเต็ม งานวิจัยที่นำมาสู่การยกเลิกการเบิกจ่ายค่ายาแก้โรคปวดข้อ 5 รายการ

          เชิญผู้สนใจศึกษารายงานฉบับเต็ม งานวิจัยที่นำมาสู่การยกเลิกการเบิกจ่ายค่ายาแก้โรคปวดข้อ 5 รายการ รวมทั้งกลูโคซามีน
          กลูโคซามีนเป็นยาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากใน ประเทศไทย และจากข้อมูลสถิติพบว่าที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินงบประมาณจากการเบิกจ่ายยากลูโคซามีน ซึ่งถือเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติให้กับผู้ป่วยที่ใช้สิทธิสวัสดิการ ข้าราชการไปมากกว่า 459 ล้านบาทต่อปี

          รายงานวิจัยเรื่อง “สรุปประเด็นข้อเท็จจริงและข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับกลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟต ไดอะเซอเรน และไฮยาลูโรแนนชนิดฉีดเข้าข้อ” เป็น งานวิจัยที่ได้จากการทบทวนงานวิจัยจากทั่วโลกกว่า 130 ของคณะทำงานวิชาการทางการแพทย์ ภายใต้คณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐานการรักษาพยาบาลและการจ่ายเงิน กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

          สาระสำคัญของรายงานฉบับนี้ระบุว่า ยากลูโคซามีน ให้ประสิทธิผลในการรักษาอาการปวดข้อได้ไม่แตกต่างอะไรกับการใช้ยาหลอก โดยได้อ้างอิงผลกาวิจัยในต่างประเทศ เช่น

           - ผลจากการศึกษาวิจัยของ Glucosamine/chondroitin Arthritis Intervention Trial (GAIT) ปี ค.ศ.2006  ซึ่งสนับสนุนการวิจัยโดย NIH (National Institute of Health) แห่งสหรัฐอเมริกา ได้สรุปผลงานวิจัยที่มีผู้ป่วยในงานวิจัยกว่า 1,583 คน ว่า กลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ ไม่มีผลในการบรรเทาอาการปวดข้อ ข้อแข็งตึง และการเคลื่อนไหวที่ติดขัดของข้อ และจากการติดตามประเมินผลการใช้ยาในระยะยาว พบว่ากลูโคซามีนไม่สามารถช่วยชะลออาการเสื่อมของข้อแต่อย่างใด อีกทั้งยังพบว่าแพทย์ผู้รักษาไม่สามารถที่จะบอกความแตกต่างระหว่างผลการ รักษาของผู้ป่วยกลุ่มที่ให้ยากลูโคซามี กับยาหลอกได้

           - ผลการทดลองของ Towheed และคณะ (2009) ที่ได้ทำการทบทวนประสิทธิผลของยากลูโคซามีนซัลเฟต ซึ่งมีผู้ป่วยในงานวิจัยทั้งสิ้น 4,963 คน พบว่า กลูโคซามีนช่วยบรรเทาอาการปวดให้กับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมได้ไม่แตกต่างอะไร กับยาหลอก

           - และงานวิจัยล่าสุดในปี 2010 โดย Wandel และคณะ ได้ระบุว่ากลูโคซามีนมีนไม่มีประสิทธิผลในการบรรเทาปวด และไม่มีผลการเปลี่ยนแปลงทางภาพรังสีของข้อ จึงได้แนะนำว่าผู้ให้บริการสาธารณสุข(ภาครัฐ) และผู้รับประกันค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ(ภาคเอกชน) ไม่ควรให้เบิกจ่ายยากลุ่มนี้ และแพทย์ไม่ควรสั่งยาให้กับผู้ป่วยรายใหม่ที่ไม่เคยใช้ยานี้มาก่อน
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยชิ้นอื่นๆอีกมากมาย ที่ได้ระบุผลการวิจัยคล้ายคลึงกับงานวิจัยข้างต้น รวมทั้งยังมีงานวิจัยที่ระบุถึงการไร้ประสิทธิผลของยาตัวอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มยาแก้ปวดข้อนอกบัญชียาหลักแห่งชาติอีกหลายชนิดอีกด้วย

กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ออกคำสั่งที่ กค 0422.2/จ.127 ให้ยกเลิกการเบิกจ่ายค่ายา 5 รายการดังกล่าวตามสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจถึงเหตุผลที่มาของคำสั่งนี้
รายงานวิจัยดังกล่าว สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซด์ http://www.cgd.go.th/wps/wcm/connect/CGD+Internet/CGD+Internet/CGDInfo/Welfare/Interesting/Interesting_detail/7667


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้