4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สวรส.หนุนทุนวิจัยมุ่งเป้าด้านสุขภาพปี 58 ชูวิจัย NCD และการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์

สวรส.สนับสนุนทุนวิจัยมุ่งเป้าปี 58 ชูประเด็นวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs และการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ หวังลดสถิติผู้ป่วยทุกกลุ่มวัย และพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและแข่งขันในอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพและแก้ปัญหาของประเทศ

ศ.นพ.สมเกียรติ  วัฒนศิริชัยกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข  กล่าวว่า  คงปฏิเสธไม่ได้ว่า งานวิจัยมีความจำเป็นต่อการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศในทุกเรื่อง  สำหรับด้านสุขภาพก็เช่นกัน หากแต่งบประมาณในการสนับสนุนทุนวิจัยในแต่ละปีก็อาจยังมีจำนวนจำกัด  ดังนั้นแต่ละหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนทุนวิจัยจึงจำเป็นต้องพิจารณาเพื่อจัดลำดับความสำคัญในการสนับสนุนทุนวิจัย  โดยในปี 2558 นี้ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้กำหนดประเด็นในการสนับสนุนทุนวิจัยมุ่งเป้าด้านสุขภาพและชีวเวชศาสตร์ไว้ 2 ประเด็นหลักที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศคือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs  และการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์  ซึ่งเน้นโครงการวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ชัดเจนในระยะสั้น  เป็นงานที่มีผลกระทบสูง  และสามารถนำไปใช้ในการผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบาย หรือประกอบการตัดสินใจของระดับนโยบายได้

“ทั้งนี้ในประเด็นของกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยได้มีการทำข้อมูลของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศปี 2552 พบว่า คนไทยมีผู้ป่วยด้วยกลุ่มโรคนี้ถึง ร้อยละ 73 และนับวันยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยและเสียชีวิต ด้วยโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความจำเสื่อม อัลไซเมอร์ ไขข้ออักเสบ โรคหัวใจ จนถึงโรคมะเร็ง โดยโรคต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นโรคไม่ติดต่อที่มีอาการเรื้อรัง แต่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งสิ้น  ดังนั้นจึงควรมีการวิจัยที่นำไปสู่การสร้างความรู้ที่สามารถกำหนดมาตรการด้านสุขภาพ (Health Intervention)  เช่น  แนวทางการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการดำรงชีวิต และการดูแลตนเอง  การค้นหาตัวบ่งชี้ความเสี่ยงในการเกิดโรค ทั้งทางชีวภาพและพฤติกรรม  แนวทางในการป้องกันและการรักษาโรคตั้งแต่ระยะแรก  แนวทางในการส่งเสริม ป้องกัน ควบคุม รักษา และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย  การปรับเปลี่ยนเวชปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและเหมาะกับประเทศไทย  ตลอดจนการลดค่าใช้จ่ายในการรักษาและดูแลผู้ป่วย” ศ.นพ.สมเกียรติ กล่าว

ศ.นพ.สมเกียรติ  กล่าวต่อว่า  ด้านการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านการแพทย์  ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สามารถส่งผลกระทบสูงในภาพรวมของการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสุขภาพของประเทศ  พร้อมลดการพึ่งพา หรือการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ  โดยการพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ที่พร้อมสำหรับการศึกษาต่อยอด เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายปัจจุบันหรือในอนาคตอันใกล้  รวมถึงสามารถพัฒนาเป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันในตลาดโลกของภาคธุรกิจของประเทศ  ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) จนสามารถก้าวข้ามผ่านจากกับดักการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (Middle income trap) ไปสู่กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง (High income countries) ได้ในที่สุด

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้