4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง เร่งระดมความเห็นพัฒนายุทธศาสตร์งานวิจัยด้านสมอง พร้อมกระตุ้นงานวิจัยมุ่งเป้าตอบโจทย์ปัญหาประเทศ

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการด้านสมองและระบบประสาท นำเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัย หวังพัฒนางานวิจัยตอบโจทย์ปัญหาของประเทศ อาทิ ปัญหายาเสพติด สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพจิต โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ

ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การศึกษาเรื่องสมองและระบบประสาทของมนุษย์นับเป็นเรื่องสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสมองมีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกับการทำงานของส่วนอื่นๆ ในร่างกาย ดังนั้นการศึกษาเรื่องสมองจึงอาจนำไปสู่การศึกษาเรื่องอื่นๆ ด้วย นอกจากนี้พัฒนาการทางด้านสมองยังเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติ-เชาวน์ปัญญา ความเฉลียวฉลาด ภาษา วัฒนธรรม ทักษะการสื่อสาร สังคม มนุษยสัมพันธ์ คุณธรรม และจริยธรรม ซึ่งการนำเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัยในสาขาดังกล่าว รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้และความเห็นในการสัมมนาวิชาการเรื่อง การพัฒนายุทธศาสตร์งานวิจัยเกี่ยวกับสมอง จิตใจ และพฤติกรรม ระหว่างวันที่ 21-23 ก.ค. 2557 จะเป็นโอกาสที่สำคัญในการพัฒนางานวิจัยให้เกิดประสิทธิภาพ และกระตุ้นให้นักวิจัยพัฒนางานวิจัยที่ตอบโจทย์ปัญหาของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม

“นอกจากนี้ การวางยุทธศาสตร์หรือการจัดทำแผนการวิจัยมุ่งเป้าสาขาต่างๆ ในยุคเปลี่ยนผ่านและปฏิรูปประเทศไทยนั้น จำเป็นต้องตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย เปรียบได้กับเรากำลังจะทำให้ “ช้างบินได้” ภายใต้ 5 แนวคิดในการศึกษาวิจัยด้านสมองในอนาคต 1) Think Smart การทำความเข้าใจกับเรื่องการทำงานของสมอง จำเป็นต้องมีความร่วมมือระดับโลกและมีกรอบการทำงานงานที่ชัดเจน  2) Think Early การป้องกันโรคทางสมองที่สามารถลดอัตราการเกิดโรคทางสมองได้ 3) Think Right งานวิจัยด้านสมองควรสนับสนุนและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  4) Think Innovative สร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย โดยอาจมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องด้านการวิจัยพื้นฐานเพื่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรม  5) Think Big สร้างความร่วมมือระดับโลกที่มีขนาดใหญ่มากๆ เช่น ความร่วมมือระดับนานาชาติ เพื่อให้เกิดงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพสูง  รวมถึงการวางแผนยุทธศาสตร์ที่มีทิศทางชัดเจนและลงมือทำอย่างเข้าใจในบริบทที่เป็นอยู่  พร้อมการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อการตัดสินใจบนฐานความรู้และการนำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศมากที่สุด  ซึ่งเราฝันอยากเห็นความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่สามารถมีวิธีการรักษาโรคต่างๆ ที่อ้างอิงข้อมูลในประเทศมากกว่าต่างประเทศ  ลดการนำเข้า เพิ่มการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น เช่น การผลิตสินค้า ยา และเวชภัณฑ์เพื่อใช้ในประเทศและเพิ่มการส่งออกมากขึ้น  การใช้ความรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาศักยภาพของคน ชุมชน ท้องถิ่น ฯลฯ” ศ.นพ.สุทธิพร กล่าว

ด้าน ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา ประสาทศัลยแพทย์อาวุโส กล่าวว่า การศึกษาวิจัยเรื่องสมองมักต้องทำควบคู่ไปกับเรื่องจิตใจและสังคมด้วย เช่น การศึกษาเรื่องสมองของลิง ต้องศึกษาลิงทั้งฝูง เพราะพฤติกรรมของลิงแต่ละตัวมีผลมาจากจิตใจและลิงตัวอื่นๆในฝูงด้วย  โดยเรื่องสมองและระบบประสาทเป็นเรื่องที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่วัยเด็ก  ซึ่งแต่ละช่วงวัยก็มีความเหมาะสมที่จะส่งเสริมพัฒนาการในแต่ละด้านที่แตกต่างกัน เช่น พัฒนาการด้านภาษาควรส่งเสริมก่อนอายุ 7 ปี  พัฒนาการด้านดนตรีควรส่งเสริมก่อนอายุ 3 ปี ฯลฯ  ดังนั้นงานวิจัยด้านสมองและระบบประสาทจึงมีบทบาทที่สำคัญในการแก้ปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาสังคมของประเทศ  ตลอดจนงานวิจัยจะเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อให้เกิดองค์ความรู้และสร้างพลังในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ในอนาคต

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้