4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ฟื้น “แพทย์แผนไทย” เติมเต็มระบบสุขภาพ งาน “วิจัย...เปลี่ยนชีวิต” มีคำตอบ!!

          ข้อมูลจากงานวิจัย “ทบทวนสถานการณ์การส่งเสริมการใช้และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ 2552” เป็น 1 ใน 8 ชุดงานวิจัยใน “โครงการทบทวนสถานการณ์ระบบสุขภาพรายหมวดในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

          ในรายงานระบุว่า ช่วงปี 2552-2556 ฐานการขับเคลื่อนงานด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกของไทยนั้น มีจุดแข็งที่เกิดขึ้นจากการที่หลายภาคีได้ให้ความสนใจสนับสนุนด้านงบประมาณ การมีกฎหมายเฉพาะ มีหน่วยงานวิชาการจำนวนมาก เช่น การวิจัยไทบ้าน ของ สกว. รวมถึงการมีแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติที่ถือว่าเป็นการสร้างร่มนโยบายในการทำงาน

          อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยพบจุดอ่อนที่สำคัญ คือ ประเทศไทยยังขาดกลไกในการจัดการความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ ประกอบกับศักยภาพในการวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้ยังมีอยู่อย่างจำกัด เช่นเดียวกับการวิจัยในระดับทฤษฎีทางการแพทย์แผนไทยยังมีไม่มากพอ และวิธีวิทยาของการวิจัยแบบวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็ทำให้การค้นคว้าศึกษาความจริงจากองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญามีอุปสรรค

          ความน่าสนใจของเรื่องนี้อยู่ตรงที่ “สัญญาณในทางบวก” ของการพัฒนาเรื่องของแพทย์แผนไทยนั้น กำลังเปิดกว้างมากขึ้น โดยพิจารณาได้จากการที่ประเทศไทยเริ่มมีกระแสความตื่นตัวเรื่องการมีสุขภาพดี ขณะเดียวกันในกลุ่มประชาชนที่เจ็บป่วยเรื้อรังก็มุ่งแสวงหาการแพทย์ทางเลือกในการดูแลสุขภาพมากขึ้น เฉกเช่นชุมชนท้องถิ่นเองก็ตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกเป็นอย่างมาก และที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ...

          หน้าต่างนโยบาย (Policy Window) จากภาครัฐที่ให้การสนับสนุนในการผลักดันเรื่องนี้มาในลำดับต้นๆ...

 

         

          ภาพประกอบจาก www.isranews.org

 

          งานประชุมวิชาการการวิจัยระบบสุขภาพประจำปี 2557 “วิจัย...เปลี่ยนชีวิต” จัดโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 4-5 กันยายนนี้ ที่อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จึงได้เปิดเวทีเสวนา นำเสนอผลงานวิจัย และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “การแพทย์แผนไทยในอาเซียน: โอกาสและผลกระทบ” เพื่อส่องทิศทางการพัฒนาและเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นำโดย ผศ.นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผอ.สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาประเทศไทย

          ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องยังมีหัวข้อ “การรักษาโรคด้วยการแพทย์แผนไทย” และ “พาร์กินสันกับการรักษาแบบแพทย์แผนไทย” เพื่อร่วมย้อนรอยทฤษฏีการแพทย์แผนไทย ร่วมค้นหาสาเหตุอาการของโรคเกิดขึ้นได้อย่างไร และความสามารถของการอธิบายเรื่องนี้ด้วยทฤษฎีทางการแพทย์แผนไทยจะเป็นอย่างไร  ตลอดจนการรักษาโรคและวิธีการดูแลตนเองหรือการฟื้นฟูสภาพร่างกาย นำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาแบบแพทย์แผนไทยอย่าง อ.ปณิตา ถนอมวงษ์ อ.กาญจนา การะเวก สมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย อ.ศิริมงคล ตอบงาม สถาบันแพทย์แผนไทยภัทรเวชสยาม นับเป็นเทรนด์การดูแลสุขภาพที่น่าติดตาม

          และที่น่าสนใจคือในงานยังมีการเปิดคอร์สการเรียนรู้การนวดแก้อาการ 3 กลุ่มโรค ประกอบไปด้วย ฐานที่ 1 เรียนรู้การนวดแก้อาการ ต่อเนื่องมาจากลมวิหควาตพัด ลมไหล่ตาย ลมดูดสะบัก ฐานที่ 2 เรียนรู้การนวดแก้อาการ แขนซ้ายแขนขวาตาย แก้มือเหน็บชาหรือกลุ่มนิ้วล็อค และ ฐานที่ 3 เรียนรู้การนวดแก้อาการปวดศีรษะไมเกรนให้อาเจียน ที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาพิสูจน์ความมหัศจรรย์ของแพทย์แผนไทยกันได้

          ติดตามรายละเอียดหรือสมัครเข้าร่วมงานประชุมได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 28 สิงหาคมนี้ ค่าลงทะเบียนท่านละ 2,000 บาท (พิเศษลงทะเบียนตั้งแต่วันนี้ถึง 7 ส.ค. ค่าสมัครเพียง 1,500 บาท) ทาง www.hsri.or.th/hsrforum2014 หรือ โทร. 0-2832- 9203 สำหรับข้าราชการสามารถเบิกจ่ายค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และนักศึกษาทันตแพทย์ศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาล สามารถเก็บคะแนนสะสมหน่วยกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องได้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้