4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

เผยงานวิจัยคลินิกสหสถาบันโดดเด่น เปลี่ยนเชิงนโยบาย ชี้รัฐควรสร้างระบบการวิจัยเฉพาะโรคให้ชัดเจน

         สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เห็นความสำคัญของการวิจัยเฉพาะโรคที่ดำเนินการโดยเครือข่ายประสานงานวิจัย คลินิกสหสถาบัน (CRCN) สวรส. จึงสนับสนุนให้นักวิจัยจากทีมมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ประเมินผลการดำเนินงานของ CRCN เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดทิศทางระบบวิจัยของประเทศในภาพรวมต่อไป โดยทีมนักวิจัยได้นำเสนอผลการประเมินฯ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2553 ณ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

          ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงค์ไพศาล นักวิจัย กล่าวถึงที่มาของ CRCN ว่า เกิดขึ้นโดยหวังจะเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตความรู้บนฐานการบริการทาง คลินิกเพื่อประโยชน์แก่ผู้รับบริการในระบบสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถระยะยาวด้านการค้นคว้าวิจัยทางคลินิกของประเทศ ไทย ตลอดระยะเวลา 10 ปีในการทำงานของ CRCN เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลผลิตและผลลัพธ์ของงานที่ส่งผลกระทบทางสังคม (Social impacts) และเพื่อวิเคราะห์สมรรถนะการดำเนินงานของ CRCN โดยเปรียบเทียบระหว่างผลผลิตและผลลัพธ์กับทรัพยากรที่ใช้ โดยคำนึงถึงสมรรถนะขององค์กรวิชาการอื่นที่ใกล้เคียง เช่น โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP), สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP)
          
          ศ.นพ.ไพบูลย์ กล่าวต่อว่า จากการประเมินพบว่า เชิงคุณภาพของผลงานวิจัยที่ CRCN สนับสนุนได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ระดับนานาชาติ  จำนวน 7 ชิ้น จากทั้งหมด 68 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 10 และงานวิจัยอย่างน้อย 3 กลุ่มถูกนำไปใช้ในระดับนโยบายชัดเจน ได้แก่ งานวิจัยด้านวิสัญญี มะเร็งในเด็ก และด้านโรคหัวใจ ซึ่งนำไปสู่ การปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรการสวนหัวใจทั่วประเทศ การเพิ่มจำนวนการผลิตวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาล ด้านผลลัพธ์ของ การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติหรือในเชิงนโยบาย พบว่า มีรายงานวิจัยจำนวน 24 ชิ้น ที่ตีพิมพ์แล้ว จาก 68 ชิ้น ถูกอ้างอิงในกระบวนการตัดสินใจในระดับนโยบาย และการนำแนวคิดเรื่องปฏิบัติการทางสังคม มาเป็นเครื่องมือในการประเมิน พบว่า CRCN มีนักวิจัยจำนวน 300 กว่าคนในเครือข่ายนักวิจัยเฉพาะโรค 26 เครือข่าย ถูกนำไปสู่การต่อยอดเพื่อเป็นทุนทางสังคมใน 4 ด้านคือ ทุนเศรษฐกิจ ทุนวัฒนธรรม ทุนสังคม ทุนสัญลักษณ์

           อย่างไรก็ตาม จากการประเมินฯ ครั้งนี้ สะท้อนข้อมูลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนรัฐบาลที่ควรจะหันมาให้ความสำคัญกับการวางแผนระบบการวิจัยของประเทศ อย่างจริงจังในประเด็นต่างๆ เช่น การยกระดับขีดความสามารถด้านการวิจัย โดยควรมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากรและเงินลงทุน รวมถึงกฎเกณฑ์และกลไกการกลั่นกรองทางจริยธรรม การจัดสรรทุนวิจัยในระยะยาว เพื่อกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศการแข่งขันอย่างสร้างสรรค์ การสร้างแรงจูงใจ เช่น มีมาตรการทางภาษีเป็นการเฉพาะเพื่อกระตุ้นให้เกิดการจัดตั้งกองทุนสนับสนุน การวิจัย ที่รองรับการวิจัยทางคลินิกของโรงเรียนแพทย์และมหาวิทยาลัยวิจัย รวมทั้งควรแยกเรื่องงานวิจัยออกจากงานบริการหรืองานสอนอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มีหน่วยวิจัยชัดเจนแยกออกจากการบริหาร ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ และควรส่งเสริมให้การวิจัยคลินิกกระแสหลักได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์แก่ผู้ป่วย และชุมชนมากขึ้น รวมถึงควรมีการบูรณาการระบบข้อมูลงานวิจัยทางคลินิก (Clinical research information systems) ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบข้อมูลบริการสุขภาพ


วันที่ประกาศ: 22 ตุลาคม 2553

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้