4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ออกกำลังกายอย่างไร...ไม่ให้ฟุบ

          จากกรณีมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากหัวใจวายเฉียบพลัน ขณะวิ่งออกกำลังกายอยู่บนลู่วิ่งไฟฟ้าในสถานบริการออกกำลังกาย ของห้างสรรพสินค้าชื่อดัง ทำให้เกิดกระแสความกังวลและคำถามเรื่องการออกกำลังกายนั้น
          รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ ที่บ้าน หรือที่สถานบริการออกกำลังกาย ทั้งนี้การออกกำลังกายต้องคำนึงถึงประเภทของการออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมถึงเพศ อายุ และปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคประจำตัว  แต่สิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำให้สุขภาพดี คือการมีกิจกรรมทางกายที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ลดพฤติกรรมเฉื่อย หรือ พฤติกรรมแน่นิ่ง (Sedentary Behavior) สสส. จึงรณรงค์ให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน อาทิ การเดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยาน แทนการใช้รถยนต์ หรือรถประจำทาง ในการเดินทางใกล้ ๆ การเดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ การทำงานบ้าน

          ทั้งนี้หากใครสามารถทำได้มากกว่าการมีกิจกรรมทางกายไปสู่การออกกำลังกายและเล่นกีฬาก็ถือเป็นเรื่องที่ดี พร้อมทั้งได้ย้ำว่า หากเราหมั่นดูแลตัวเองสร้างความกระฉับ กระเฉงอยู่เสมอ เราจะห่างไกลจากความเสี่ยงทางสุขภาพที่มาจากการขาดการมีกิจกรรมทางกาย ซึ่งกำลังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของปัญหาสุขภาพของคนทั้งโลก

          รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก คณะกรรมการบริหารแผนสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส. กล่าวว่า การออกกำลังกายมี 2 แบบ คือ 1.การออกกำลังกายแบบนักกีฬา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความแข็งแรงของร่างกายมากกว่าคนปกติ และมีผู้ดูแลใกล้ชิด 2.การออกกำลังกายแบบคนทั่วไป เพื่อให้เกิดสุขภาพดี แต่กลับพบว่า หลายคนเริ่มออกกำลังกายเมื่อมีปัญหาสุขภาพ สำหรับหลักการออกกำลังกายที่ดี ก่อนออกกำลังกาย ควรมีการอบอุ่นร่างกาย (Warm up) ทุกครั้ง เพื่อให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายมีความพร้อม จะลดการบาดเจ็บได้ และต้องทำ ให้ร่างกายเย็นลง (Cool Down) ทุกครั้ง ประมาณ 5-7 นาที หลังออกกำลังกาย
          "การไม่ออกกำลังกายหักโหม วัดได้จากอัตราการเต้นของชีพจร สูตรทั่วไป คือ 220 ลบด้วยอายุ และควบคุมการเต้นของหัวใจให้ไม่เกินร้อยละ 70 ของอัตราการเต้นหัวใจที่คำนวณได้ หรือ เอา 170 ตั้ง ลบด้วยอายุ ก็จะออกมาใกล้เคียงกับอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่ควรให้เต้นเร็วแรงกว่านี้"

          นพ.ปัญญา บอกว่า หากออกกำลังกายหนักไป จะทำให้หัวใจทำงานหนักสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทันและอาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายเป็นเรื่องสำคัญ ที่ควรทำเป็นประจำ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง และเพิ่มภูมิคุ้มกัน แต่ก็ควรเลือกประเภทการออกกำลังที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายด้วย
          "สำหรับสถานบริการออกกำลังกาย มักมีเทรนเนอร์เพื่อดูแลการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี ซึ่งควรอบรมและให้ความรู้ในการช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินไว้ด้วย" รศ.นพ.ปัญญา กล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 หน้า 15

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้