4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ภัยใกล้ตัวไวรัสตับอักเสบบีและซีตัวการร้ายโรคมะเร็งตับ

          โรคไวรัสตับอักเสบบีและซี ใกล้ตัวกว่าที่คิดและอันตรายกว่า หรือเทียบเท่าโรคเอดส์ และเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับที่สำคัญที่สุดในประชากรโลก รวมทั้งคนไทย ซึ่งร้อยละ 70-75 ของคนที่ป่วยเป็นมะเร็งตับในคนไทย เกิดจากไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
          โรคไวรัสตับอักเสบ ถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 โรคติดเชื้อที่ทำให้คนเสียชีวิตมากที่สุด โดยในประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังกว่า 3.5 ล้านคน และไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังกว่า 1.5 ล้านคน

          รศ.นพ.ธีระ พิรัชวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสถาบันโรคตับ และระบบทางเดินอาหาร ร.พ.สมิติเวช สุขุมวิท เปิดเผยว่า โรคไวรัสตับอักเสบติดต่อกันผ่านทางเลือด และน้ำเหลือง เช่น แม่สู่ลูก เพศสัมพันธ์ เครื่องใช้อุปกรณ์ที่ปนเปื้อนเลือด ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสบีและซีเรื้อรัง จะทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง เพราะมีค่าของเอนไซม์ตับ (AST, ALT) สูงกว่าปกติ ซึ่งอาจสูงกว่าปกติตลอดหรือค่าแกว่งขึ้นลงเป็นระยะ ในผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเรื้อรัง จะทำลายเซลล์ตับเรื้อรังทำให้เกิดพังผืดสะสมมากขึ้น จนเกิดตับแข็งได้ในร้อยละ 20-25 ภายในเวลา 8-20 ปี ซึ่งหลังจากเกิดตับแข็ง ก็จะก่อให้เกิดโรคจนเกิดตับวายได้ร้อยละ 4-6 ต่อปี ซึ่งอาการของ ตับวาย เช่น ดีซ่าน ท้องมาน ผู้ป่วยที่มีอาการตับแข็งจะมีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้ ร้อยละ 3-8 ต่อปี
          และยังพบว่าไวรัสตับอักเสบบีและซี เป็นสาเหตุของมะเร็งตับในคนไทยสูงมาก ที่สำคัญผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง มักจะไม่มีอาการ จนทำให้ผู้ป่วยคิดว่าตนเองแข็งแรง กว่าจะมีอาการผู้ป่วยก็มักจะเกิดภาวะตับแข็งจนเริ่มมีตับวายเรื้อรังแล้ว ในกรณีเกิดมะเร็งตับก็จะมีขนาดมะเร็งที่ใหญ่ เกินกว่าจะรักษาให้ได้ผลดีแล้วเช่นกัน นอกจากนี้ ค่าเอนไซม์ตับอาจจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะการตรวจดูเอนไซม์ตับทุก 3-6 เดือน อาจไม่พบความผิดปกติในผู้ป่วย ที่มีค่าเอนไซม์ตับแกว่งขึ้นลง ดังนั้น ประมาณร้อยละ 15-20 ของผู้ป่วยไวรัสบีและซีเรื้อรัง จะดำเนินโรคไปเป็นตับแข็ง หรือมะเร็งตับ

          ล่าสุดมีเครื่อง Fibro Scan เป็นเครื่องที่ทันสมัยเครื่องหนึ่ง สามารถตรวจดูสภาพการเกิดพังผืดในเนื้อตับ โดยไม่ต้องเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจ จึงถือว่าเครื่องนี้สามารถวินิจฉัยโรคตับแข็งในระยะแรกๆ ได้  ส่วนผลที่ได้จากการตรวจ Fibro Scan จะช่วยในการพยากรณ์ โรคแทรกซ้อน เพื่อติดตามผล และประเมินโรคที่เป็น โดยไม่เกิดความเจ็บปวดใดๆ กับร่างกาย ลดอัตราการแทรกซ้อน และยังลดค่าใช้จ่ายต่างๆ อีกด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 หน้า 25

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้