4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สกู๊ป/บทความงานวิจัย

31.01.2024
343 Views

อนาคตการแพทย์คือ ‘จีโนมิกส์’ ส่วนภัยคุกคามสุขภาพยังเป็นโรค NCDs สวรส. มุ่งปรับทิศทางวิจัย ‘ตอบโจทย์ฝ่ายนโยบาย-ใช้ได้จริง’

ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ได้สร้างผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ในทุกมิติ ไม่เว้นแม้แต่ด้านสุขภาพและการแพทย์ ที่ดูเหมือนว่าจะได้รับประโยชน์มากกว่าโทษอย่างที่หลายแวดวงเจอ เช่น เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการดูจอประสาทตา การวิเคราะห์อ่านฟิล์มเอกซเรย์ เพื่อช่วยให้แพทย์มีความมั่นใจมากขึ้นในการวินิจฉัยโรค รวมถึงสามารถช่วยผู้คนให้มีทิศทางสุขภาพที่ดีขึ้น และมีความเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ น้อยลง แต่จากสถิติทางสุขภาพในช่วงหลายปีที่ผ่านมากลับสวนทางอย่างน่าเป็นห่วง กระทั่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังเคยมีการรายงานข้อมูลด้วยว่า ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) มีทิศทางเพิ่มขึ้น จาก 38 ล้านคน ในปี 2555 เป็น 41 ล้านคน ในปี 2559
20.12.2023
361 Views

จุดคลิกแก้ปัญหามลพิษ ด้วยวิจัยข้ามศาสตร์กับหลักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง

ชุมชนในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน กำลังเผชิญกับความเสี่ยงของมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ประเทศลาว ซึ่งพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าดังกล่าวนั้นติดกับพื้นที่จังหวัดน่านของประเทศไทย ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ก่อให้เกิดมลพิษหลายชนิด โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ อาทิ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โลหะหนัก ปรอท ฯลฯ และเนื่องจากโรงไฟฟ้าฯ ตั้งอยู่ในฝั่งประเทศลาว จึงไม่มีข้อผูกมัดในการดำเนินการควบคุมเฝ้าระวังในฝั่งไทย โดยยังไม่มีข้อบังคับหรือข้อตกลงทางกฎหมายข้ามพรมแดนบังคับใช้ เพื่อควบคุมผลกระทบจากมลพิษที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่มาของการลงพื้นที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อรวบรวมข้อมูล กรณีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาดังกล่าว และจัดเวทีรับฟังข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านจากทุกฝ่าย เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาการปรับแก้กลไกและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและระดับประชาคมอาเซียน
27.11.2023
409 Views

สวรส.วิจัยพัฒนาวิธีรักษา “โรคพิธิโอซิส” ลดเสี่ยงเสียชีวิตเกษตรกรไทย พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่สู่โรงเรียนแพทย์

โรคพิธิโอซิสในมนุษย์ (human pythiosis) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อพิเธียม อินซิดิโอซุ่ม (Pythium insidiosum) โดยที่เชื้อพิเธียมนี้ถึงแม้จะมีลักษณะคล้ายรา แต่เมื่อวิเคราะห์ในระดับสารพันธุกรรมแล้ว เชื้อพิเธียมมีความใกล้เคียงกับสิ่งมีชีวิตจำพวกสาหร่ายและไดอะตอมมากกว่า ซึ่งพบรายงานผู้ป่วยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2528 โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่มีการรายงานโรคพิธิโอซิสในมนุษย์ และไทยมีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อพิธิโอซิสมากเป็นลำดับแรกของโลกร่วมกับประเทศอินเดีย โดยคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 94.3% ของรายงานผู้ป่วยทั้งหมดทั่วโลกนับจนถึงปี พ.ศ. 2564 ทั้งนี้หนึ่งในกลุ่มประชากรที่สามารถพบโรคนี้ได้มากคือ เกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ต้องเดินลุยน้ำหรืออยู่ในที่ที่มีน้ำขัง ซึ่งมักเกิดแผลจากการทำกิจกรรมทางเกษตร ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อดังกล่าว และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักพบในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้