4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สกู๊ป/บทความงานวิจัย

28.06.2024
242 Views

‘Pride Month’ เดือนแห่งความภูมิใจของชาว LGBTQ+ กับงานวิจัยเพื่อคนกลุ่มใหม่ในสิทธิประโยชน์สุขภาพคนไทย

นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของ ‘Pride Month’ ในทศวรรษ 1960 จนนำมาสู่การประกาศให้ ‘เดือนมิถุนายนของทุกปี’ เป็นช่วงของการเฉลิมฉลองและให้ความสำคัญแก่ผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ซึ่งนานาประเทศเริ่มมีความเข้าใจ และขับเคลื่อนงานด้านสิทธิสวัสดิการทางสุขภาพที่มีความเฉพาะกับกลุ่มดังกล่าวนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนของประเทศไทย ช่วงปลายปี 2566 เมื่อรัฐบาล โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีการนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาความเหมาะสมในการบรรจุ ‘ฮอร์โมน’ สำหรับคนกลุ่มนี้ ลงในชุดสิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่ง สปสช. อยู่ระหว่างการศึกษาถึงผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ความคุ้มค่า และความเหมาะสมของการเข้าถึงการใช้ฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศ และบริการที่เกี่ยวข้องสำหรับประชากรข้ามเพศและผู้มีความหลากหลายทางเพศ
17.06.2024
242 Views

“AI ใจดี” แอปพลิเคชันจากงานวิจัย ยกระดับระบบบริการผู้ป่วย NCDs - ตัวช่วยพัฒนาศักยภาพบุคลากรการแพทย์

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เทคโนโลยีที่มีความชาญฉลาด และเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในช่วงที่ประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งทำให้มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ทำให้ทุกภาคส่วนต้องเตรียมรับมือ โดยเฉพาะการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต
20.05.2024
303 Views

สวรส.-สถาบันโรคผิวหนัง ปั้นนวัตกรรมระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ เพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการคุณภาพด้านโรคผิวหนังในผู้สูงอายุ

“โรคผิวหนัง” เป็นอีกหนึ่งโรคสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด ทั้งนี้ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันยังมีความแตกต่างในการเข้าถึงบริการด้านการวินิจฉัยและการรักษาเฉพาะทางด้านโรคผิวหนัง ระหว่างผู้ป่วยที่อยู่ต่างจังหวัดและในเมืองหลวง เนื่องจากแพทย์ผิวหนังมีจำนวนน้อยและมักกระจุกตัวอยู่ในภาคเอกชน ทำให้มีแพทย์ผิวหนังไม่เพียงพอในโรงพยาบาลทุกจังหวัด
16.05.2024
281 Views

สวรส.-จุฬา เดินหน้าวิจัยประเมินผลกระทบ การให้วัคซีนตับอักเสบของประเทศไทย พร้อมใช้ข้อมูลเคลื่อนเป้า ‘ขจัดโรคหมดไปภายในปี 2573’

เชื้อไวรัสตับอักเสบ บีและซี เป็นหนึ่งในต้นทางสำคัญของโรคร้ายที่จะนำไปสู่ความเจ็บป่วยจนถึงขั้นเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นโรคตับอักเสบ ภาวะตับแข็ง รวมถึงมะเร็งตับ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีจึงนับเป็นภัยคุกคามสุขภาพร้ายแรง ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ทั้งนี้รายงานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2564 ได้ระบุถึงสถานการณ์ของไวรัสตับอักเสบว่า ในปี พ.ศ. 2562 ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังรายใหม่ จำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิต ราว 8.2 แสนรายต่อปี สำหรับสาเหตุการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบ เอ ติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส, ไวรัสตับอักเสบ บี ติดต่อทางเลือด เพศสัมพันธ์ และจากแม่สู่ลูก, ไวรัสตับอักเสบ ซี ติดเชื้อทางเลือด การใช้ของมีคมร่วมกัน
10.05.2024
506 Views

สวรส. จัดระดมความเห็น พัฒนาข้อเสนอจากงานวิจัย สู่การจัดรูปแบบ ‘จัดงบบริการแก่ รพ.สต. ถ่ายโอน’

จากประเด็นที่สังคมกำลังให้ความสนใจ กรณีการถ่ายโอนระบบบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุขไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการประเด็นหนึ่งคือ ค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดสรรในหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ และประสบปัญหาในการบริหารจัดการงบประมาณที่ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมต่อการจัดบริการ ทำให้ส่งผลถึงคุณภาพการจัดบริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
04.04.2024
564 Views

งานวิจัยชี้ ‘บริการส่งยาทางไปรษณีย์’ ลดผู้ป่วยมา OPD ใน รพ. ได้ถึง 30% ลดภาระงานเภสัชฯ-จนท. ช่วงเร่งด่วน

ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย กลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วย “โรคเบาหวาน” คือหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่หากมีการติดเชื้อแล้ว จะมีโอกาสที่จะอาการทรุดหนักจนถึงขั้นเสียชีวิตได้มากกว่าคนทั่วไป แต่ขณะเดียวกันก็เป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว การที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งมีมากกว่า 3 ล้านคน1 จะไปรับยาที่โรงพยาบาลก็อาจทำให้เกิดความแออัด และเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น
29.02.2024
546 Views

วิจัยชี้ถึง “ประสิทธิภาพและความคุ้มค่า การตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบ HPV DNA ด้วยตัวเอง” ทางเลือกหญิงไทย พร้อมเดินหน้าประเทศไทยมะเร็งปากมดลูกเป็นศูนย์

ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ประกาศสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในเรื่องของการให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA เมื่อเดือน พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา โดยสนับสนุนการใช้ชุดเก็บตัวอย่างส่งตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นชุดตรวจคล้ายชุดตรวจคัดกรองโควิดที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เพื่อตอบสนองต่อการใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ ลดความเขินอาย และเพิ่มทางเลือกในการเข้ารับบริการของหญิงไทยกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30-59 ปี ทุกคนและทุกสิทธิ์ รวมถึงหญิงไทยที่มีอายุ 15-29 ปี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงติดเชื้อและไม่ได้ป้องกัน เป็นต้น ควบคู่กับการเพิ่มช่องทางการขอรับบริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีดังกล่าวที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ร้านยา คลินิกพยาบาล ฯลฯ โดยสามารถขอรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA โดยชุดเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง และหากผลเป็นปกติ สามารถทำการตรวจซ้ำได้ทุก ๆ 5 ปี
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้