4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สกู๊ป/บทความงานวิจัย

22.11.2024
763 Views

“เทคโนโลยี AI เฝ้าระวังผู้สูงวัยที่บ้าน” จากนวัตกรรมสู่การวิจัยประสิทธิภาพ เพื่อการใช้งานจริงในสังคมสูงวัย

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ อย่างเป็นทางการในปี 2565 โดยมีประชากรสูงอายุถึง 13 ล้านคน หรือราว 20% ของประชากรทั้งประเทศในปี 2566 และมีแนวโน้มจะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอดในปี 2573 ด้วยสัดส่วนประชากรที่มีอายุเกิน 65 ปี จะมีมากถึงร้อยละ 201 ปรากฏการณ์นี้ประกอบกับภาวะสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ความจำเป็นของผู้ดูแลหรือลูกหลานที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านโดยต้องให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านเพียงลำพัง ซึ่งผู้สูงอายุอาจเกิดการหกล้ม เป็นลมหมดสติ หรือเกิดเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น ลืมกินยา ลืมทำกายภาพบำบัด มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยเกินไป ฯลฯ
21.11.2024
598 Views

2 พันล้าน กับ 5 ปีจีโนมิกส์ฯ ให้อะไรกับคนไทย? : คำถามที่มีคำตอบชัด พร้อมขยับจัดปฏิบัติการจีโนมิกส์ไทยแลนด์ Phase 2 เพื่อคุณภาพชีวิตของคนไทย

เสียง “ขอบคุณ” อันสั่นเครือของผู้เป็นแม่... เสียงที่เต็มไปด้วยความหวัง ผสมปนกับความสุขและความอบอุ่นจากกำลังใจที่ได้รับจากเหล่าคุณหมอที่ร่วมดูแลลูกน้อย “น้องปังปอนด์” (นามสมมุติ) ที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงตั้งแต่กำเนิด ซึ่งมีโอกาสได้รับการรักษาให้สามารถมีชีวิตและใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับเด็กปกติ ซึ่งน้องปังปอนด์ เป็นหนึ่งในอีกหลายๆ เคส ภายใต้การนำเทคโนโลยีการแพทย์จีโนมิกส์มาใช้ในการวินิจฉัย รักษาและป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงและลุกลามไป...
05.09.2024
1803 Views

ถอด ‘งานวิจัยถ่ายโอน รพ.สต.’ 49 โครงการ จากข้อค้นพบ สู่ข้อเสนอ 6 มิติ อุดช่องโหว่ผลกระทบ ระยะเปลี่ยนผ่าน

การถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ถือเป็นหนึ่งในการปฏิรูประบบสุขภาพระดับปฐมภูมิของประเทศไทยที่สำคัญในแง่การกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ส่วนท้องถิ่น และเสริมบทบาทให้กับท้องถิ่น อย่าง อบจ. ที่ใกล้ชิดกับประชาชน ให้เข้ามาบริหารจัดการดูแลสุขภาพ ร่วมกับ รพ.สต. ที่รับถ่ายโอนมา ซึ่งในระยะกว่า 2 ปีที่ผ่านมา มีการถ่ายโอน รพ.สต. ให้แก่ อบจ. จากจำนวน รพ.สต. ทั่วประเทศที่มี 9,872 แห่ง ปัจจุบันถ่ายโอนไปแล้ว 4,276 แห่ง คิดเป็น 43.31% ในพื้นที่ 62 อบจ. และยังเหลืออีก 5,596 แห่ง ในพื้นที่ 14 อบจ. ที่ยังไม่มีการถ่ายโอน1 และคาดว่าจะมีบางส่วนรอการถ่ายโอนในปีงบประมาณที่จะถึงนี้
02.09.2024
813 Views

มุมมองใหม่ของ “ความเปราะบาง” กับงานวิจัยคุณภาพที่ครอบคลุม ด้วยวิจัยข้ามศาสตร์และการเสริมศักยภาพความเข้มแข็งให้ผู้คน

ในโลกที่เต็มไปด้วยความผันผวนไม่แน่นอน ทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็น “กลุ่มเปราะบาง” ได้เพียงชั่วข้ามคืน ทั้งนี้ในการประชุมวิชาการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ปี 2567 “ร่วมพลิกระบบสุขภาพไทย ด้วยงานวิจัยคุณภาพ” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22-23 ส.ค. 2567 ได้จัดให้ประเด็นความเปราะบางเป็นประเด็นของเวทีกระบวนการทางวิชาการเวทีหนึ่งที่น่าสนใจ และช่วยขยายมุมมองให้กับนักวิจัยและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกลุ่มเปราะบาง ซึ่งคำจำกัดความ “ความเปราะบาง” ได้ถูกขยายมุมมองให้กว้างขวางและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
25.07.2024
1955 Views

สวรส. สร้างความเข้มแข็ง ‘ระบบสุขภาพปฐมภูมิ’ ผลักดันงานวิจัย-สร้างคลังข้อมูลแดชบอร์ด หนุนการถ่ายโอน รพ.สต. บนฐานความรู้

หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ ถือเป็นหน่วยบริการด่านแรกที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการตรวจคัดกรอง ดูแล รักษา ฟื้นฟู ตลอดจนสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ให้คนไทยกว่า 67 ล้านคนมีสุขภาพดี ลดการเจ็บป่วยตั้งแต่เนิ่นๆ รวมถึงไม่ให้เกิดการไปโรงพยาบาลใหญ่โดยไม่จำเป็น ซึ่งช่วงที่ผ่านมาเกิดการพลิกเปลี่ยน “ระบบสุขภาพปฐมภูมิ” ครั้งสำคัญ ทั้งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างความเข้มแข็งของการจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน รวมถึงในปี 2565 ที่มีการเดินหน้าเรื่องถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีมากที่สุดในประเทศ จากกระทรวงสาธารณสุข ไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดย 2 ปีที่ผ่านมา มีการถ่ายโอน รพ.สต. ถึง 4,276 แห่ง จากทั้งหมด 9,872 แห่ง มาอยู่ในสังกัด อบจ. ทั้งนี้การพลิกเปลี่ยนดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาวิจัยเพื่อสนับสนุนให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและครบวงจร ตลอดจนการสร้างองค์ความรู้ใหม่/นวัตกรรมบริการ เพื่อรับมือกับสถานการณ์และวิกฤตสุขภาพในอนาคต
28.06.2024
994 Views

‘Pride Month’ เดือนแห่งความภูมิใจของชาว LGBTQ+ กับงานวิจัยเพื่อคนกลุ่มใหม่ในสิทธิประโยชน์สุขภาพคนไทย

นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของ ‘Pride Month’ ในทศวรรษ 1960 จนนำมาสู่การประกาศให้ ‘เดือนมิถุนายนของทุกปี’ เป็นช่วงของการเฉลิมฉลองและให้ความสำคัญแก่ผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ซึ่งนานาประเทศเริ่มมีความเข้าใจ และขับเคลื่อนงานด้านสิทธิสวัสดิการทางสุขภาพที่มีความเฉพาะกับกลุ่มดังกล่าวนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนของประเทศไทย ช่วงปลายปี 2566 เมื่อรัฐบาล โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีการนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาความเหมาะสมในการบรรจุ ‘ฮอร์โมน’ สำหรับคนกลุ่มนี้ ลงในชุดสิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่ง สปสช. อยู่ระหว่างการศึกษาถึงผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ความคุ้มค่า และความเหมาะสมของการเข้าถึงการใช้ฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศ และบริการที่เกี่ยวข้องสำหรับประชากรข้ามเพศและผู้มีความหลากหลายทางเพศ
17.06.2024
2004 Views

“AI ใจดี” แอปพลิเคชันจากงานวิจัย ยกระดับระบบบริการผู้ป่วย NCDs - ตัวช่วยพัฒนาศักยภาพบุคลากรการแพทย์

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เทคโนโลยีที่มีความชาญฉลาด และเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในช่วงที่ประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งทำให้มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ทำให้ทุกภาคส่วนต้องเตรียมรับมือ โดยเฉพาะการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้