ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 84 คน
จำนวนดาวน์โหลด :22ครั้้ง
ผลกระทบของการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิ : กรณีศึกษานโยบายสามหมอ ใน 5 จังหวัด
นักวิจัย :
ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ , ฑิณกร โนรี , นงลักษณ์ พะไกยะ
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
26 เมษายน 2567

การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อถอดบทเรียนกระบวนการและผลที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการหนุนเสริมประสิทธิภาพของกระบวนการถ่ายโอนและลดผลกระทบทางด้านลบที่อาจจะเกิดขึ้นของการกระจายอำนาจ การศึกษานี้ได้ศึกษาในพื้นที่ที่มีการถ่ายโอน รพ.สต. ในพื้นที่ร้อยละ 100 ได้แก่ 1) จังหวัดหนองบัวลำภู 2) จังหวัดปราจีนบุรี 3) จังหวัดขอนแก่น 4) จังหวัดสุพรรณบุรี และ 5) จังหวัดมุกดาหาร โดยเก็บข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ เครื่องมือประกอบด้วย แนวทางการสัมภาษณ์ แบบสอบถามผู้ให้บริการ รพ.สต. และแบบสอบถามผู้ใช้บริการใน รพ.สต. กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เกี่ยวข้องระดับจังหวัด ระดับอำเภอและระดับตำบล จำนวน 70 คน บุคลากรของ รพ.สต. จำนวน 500 คน และผู้ใช้บริการ รพ.สต. จำนวน 500 คน ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงต้นของการถ่ายโอนปัญหาและความท้าทายในภาพรวมที่เผชิญ ได้แก่ 1) ขาดกลไกในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ คณะกรรมการสุขภาพพื้นที่ (กสพ.) ไม่สามารถทำงานได้ตามที่คาดหวัง ขาดกลไกระดับอำเภอที่เชื่อมประสานหน่วยงานต่างๆ ในระดับอำเภอเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ และความไม่พร้อมทั้งด้านจำนวนคนและประสบการณ์ของกองสาธารณสุข อบจ. ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการงาน 2) การบริการสาธารณสุขได้รับผลกระทบในบางบริการ เช่น บริการทันตกรรม งานด้านส่งเสริมสุขภาพ ตลอดทั้งงานควบคุมป้องกันโรค นอกจากนั้นความไม่ชัดเจนของตัวชี้วัดส่งผลต่อทิศทางการทำงานของ รพ.สต. และ 3) ปัญหาด้านกำลังคนเกี่ยวข้องกับประเด็นการสรรหา, ความก้าวหน้าของอาชีพ, ค่าตอบแทนพิเศษ, การให้ความดีความชอบ, การพัฒนาศักยภาพและการนิเทศงานต่างๆ นอกจากนั้นการถ่ายโอน รพ.สต. ในช่วงแรกมีผลกระทบต่อโครงการสามหมอทำให้การทำงานไม่เชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกันมากนัก การที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ยังอยู่กับกระทรวงสาธารณสุข และขึ้นตรงกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) มีผลกระทบให้การทำงานระหว่าง รพ.สต., สสอ. และ อสม. ไม่ราบรื่นนัก และ รพ.สต. อยู่คนละสังกัดกับโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ส่งผลต่อการทำงานเชื่อมโยงระหว่าง รพช. (หมอที่ 3) และ รพ.สต. (หมอที่ 2) เช่นกัน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการถ่ายโอนให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งทั้งด้านกำลังคน ด้านวิชาการ และด้านงบประมาณ แก่ กสพ., กองสาธารณสุขใน อบจ. และกลไกระดับอำเภอ 2) พัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดทำแผนพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ และ 3) กระทรวงสาธารณสุขและกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ควรร่วมกันกำหนดเรื่องแผนยุทธศาสตร์ปฐมภูมิระดับชาติและระบบการควบคุมคุณภาพการบริการระดับปฐมภูมิ กำหนดเป้าหมายบริการนำไปสู่การกำหนดตัวชี้วัดบริการสู่การบริการระดับปฐมภูมิของ รพ.สต.


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6055

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้