ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 503 คน
จำนวนดาวน์โหลด :23ครั้้ง
การพัฒนาตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
นักวิจัย :
อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี , ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา , กิตติพงษ์ เกิดฤทธิ์
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
27 พฤศจิกายน 2566

วรรณกรรมและงานวิจัยเกี่ยวกับการกระจายอำนาจได้ส่งสัญญาณเตือนว่า การกระจายอำนาจที่ไม่ได้พิจารณาบริบทเฉพาะของแต่ละประเทศจะก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ ดังนั้น การออกแบบแนวทางการกระจายอำนาจให้สอดคล้องกับบริบทความจำเป็นของแต่ละประเทศจึงมีความสำคัญต่อการปฏิรูปภาครัฐ ในปี พ.ศ. 2564 รัฐบาลไทยได้ขับเคลื่อนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ครั้งใหญ่ คือ การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 3,263 แห่ง (ร้อยละ 33.21) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จำนวน 49 แห่ง ทั้งนี้ รพ.สต. มีหน้าที่สำคัญในการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 สำหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้รับการถ่ายโอน รพ.สต. จำนวน 40 แห่ง จากกระทรวงสาธารณสุขในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (พ.ศ. 2565) การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหาและอุปสรรคขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองภายหลังได้รับการถ่ายโอน รพ.สต. และเพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา รพ.สต. ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง การศึกษานี้ใช้กรอบแนวคิด “หน่วยโครงสร้างของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ (The Six Building Blocks of a Health System)” ขององค์การอนามัยโลก การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มโดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 62 คน การศึกษานี้พบว่า ภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองประสบปัญหากำลังคนขาดแคลน โดยเฉพาะการขาดแคลนแพทย์และทันตแพทย์ ซึ่งการขาดแคลนกำลังคนนี้เป็นปัญหาเรื้อรังของระบบสาธารณสุขในประเทศไทยที่เกิดขึ้นก่อนการถ่ายโอน รพ.สต. ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง นอกจากนี้ ในระยะเริ่มแรกภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. เกิดความสับสนเนื่องจากรัฐบาลไม่ได้จัดสรรเงินอุดหนุนอย่างเพียงพอให้แก่ อบจ. และไม่ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนให้แก่ อบจ. โดยเฉพาะการบริหารยาและเวชภัณฑ์ การจัดการและส่งต่อข้อมูลสุขภาพประชากร และมาตรฐานการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการแก้ไขปัญหาโดยพยายามใช้ทรัพยากรและเครือข่ายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้องค์ประกอบสำคัญของ “ตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง” คือ (1) ยุทธศาสตร์ “ซ่อมคู่สร้าง = ระยองโมเดล” (2) การบริหารกำลังคนที่ขาดแคลน (3) กลไกคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) ที่มีประสิทธิภาพ (4) ภาคีเครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่เข้มแข็ง (5) คณะที่ปรึกษาที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ และ (6) การมีแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้สามารถจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิได้อย่างเบ็ดเสร็จ


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5975

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้