ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 1081 คน
จำนวนดาวน์โหลด :24ครั้้ง
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลภายใต้การถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาในอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
นักวิจัย :
ชวรัช โรจนประเสริฐ , นพมาส เครือสุวรรณ , อาภาพร กฤษณพันธุ์ , ณรงค์ ใจเที่ยง , มณีรัตน์ เอกพงศ์ไพสิฐ , มนภัทร จงดีไพศาล , James Maude, Richard
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
30 ตุลาคม 2567

บทบาทและหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554 ได้มีการส่งเสริมให้ อสม. มีบทบาทที่เน้นการเสริมสร้างสุขภาพประชาชนในชุมชนโดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง อีกทั้งยังมีการเน้นให้ อสม. มีทักษะและเพิ่มความรู้เพื่อเป็นผู้นำและจัดการด้านสุขภาพของชุมชน และมีการเชื่อมโยงบทบาทกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) นอกจากนี้ ยังมีการระบุบทบาทที่ อสม. ควรพัฒนาเพิ่มเติมในอนาคต เพื่อตอบสนองต่อแนวโน้มปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในอนาคต อย่างไรก็ตาม ตามที่มีการโอนถ่ายการบริหารส่วนท้องถิ่นซึ่งอาจจะมีกระทบต่อบทบาทการทำงานของ อสม. อีกทั้งเพื่อเป็นการตอบสนองต่อการเสริมสร้างบริการสุขภาพและการพัฒนาชุมชนหลังมีการถ่ายโอน รพ.สต. ไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยให้มีการบริการของ อสม. ภายใต้การถ่ายโอนภารกิจที่มีการสอดคล้องกับระบบสาธารณสุขที่เปลี่ยนไป โครงการวิจัยนี้ออกแบบการศึกษาวิจัยเชิงอนาคตโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในรายละเอียดและสะท้อนมุมมองความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามวิจัยจากกลุ่มผู้บริหารระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญของการวิจัยภายใต้การถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดกาญจนบุรี โดยวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ เป็นไปดังนี้ 1. เพื่อระบุและอธิบายความรู้ ความสามารถของ อสม. ก่อนและหลังการถ่ายโอน ตลอดจนความท้าทายของการถ่ายโอน รพ.สต. ในอำเภอท่าม่วง ไปอยู่ใต้การดำเนินงานของ อบจ. กาญจนบุรี 2. เพื่อพัฒนาบทบาทการทำงานของ อสม. ที่ตอบสนองต่อการเสริมสร้างบริการสุขภาพและการพัฒนาชุมชนหลังมีการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ.กาญจนบุรี และ 3. เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับ อสม. ในการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคในพื้นที่ที่มีการถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ.กาญจนบุรี ผลการวิจัยพบว่า ตามจุดประสงค์ที่ 1. หน้าที่หลักของ อสม. ยังคงเห็นว่าควรเป็นเหมือนเดิม แต่การเปลี่ยนแปลงในองค์กรสาธารณสุขระดับท้องถิ่นมีผลกระทบต่อการทำงานของ อสม. โดย อสม. ต้องพัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยี เพื่อช่วยในการบันทึกและรายงานผลการทำงาน และจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมเพิ่มเติม อีกทั้งยังต้องมีการสร้างความเข้าใจในเรื่องของสิทธิประโยชน์และค่าตอบแทน เพื่อลดความสับสนและเพิ่มความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของระบบการทำงาน ในขณะเดียวกัน การประสานงานต้องผ่าน อบจ. และองค์กรสาธารณสุขอำเภอแต่ อสม. ยังคงทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. โดยมีการเพิ่มภาระงานเพื่อทำให้การทำงานของ อสม. ตรงตามนโยบายและข้อตกลงร่วมกัน สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้การทำงานซับซ้อนขึ้น แต่การสนับสนุนและควบคุมเป็นสิ่งสำคัญในการให้บริการสุขภาพในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามจุดประสงค์ที่ 2. ความสามารถและความรู้ของ อสม. ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งอาจส่งผลให้การบริหารจัดการสาธารณสุขของหน่วยงานท้องถิ่นมีความเป็นไปได้ที่จะไม่สามารถสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนได้อย่างทั่วถึง ศักยภาพที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม ได้แก่ ทักษะการใช้เครื่องมือ การบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ความท้าทายก็อยู่ที่ความไม่เท่าเทียมในระดับความสามารถและความรู้ของเจ้าหน้าที่ อสม. นอกจากนี้ การส่งเสริมความยอมรับและความเข้าใจในบทบาทของ อสม. ในชุมชนเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากบางชุมชนอาจมีการมองว่าบริการจาก อสม. ไม่จำเป็น หรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการรับบริการจาก อสม. มาก่อน ดังนั้น การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความเข้าใจในบทบาทของ อสม. ในชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาบริการสุขภาพในระดับท้องถิ่น ตามจุดประสงค์ข้อที่ 3. การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาและสนับสนุนงานในของ อสม. ควรส่งเสริมให้มีการทำงานแบบบูรณาการ ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง มีนโยบายร่วมกันระหว่าง อบจ. และ สสจ. และมีการจัดทำแผนงานร่วมเพื่อความชัดเจนในการมอบหมายงานในความรับผิดชอบ โดยควรให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนงานและการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างความตื่นตัวในการทำงานของ อสม. อย่างต่อเนื่อง และการให้ผู้บริหารเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานของ อสม. โดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่น การพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการทำงานด้านสาธารณสุขและการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาต่อในระดับต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะที่เป็นมาตรฐาน การสนับสนุนเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การจัดสวัสดิการ และการกำหนดหลักเกณฑ์การรับเข้า การลาออก และการเบิกค่าตอบแทน เป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนา อสม. และสนับสนุนงานในชุมชนให้ดียิ่งขึ้นในระดับต่าง ๆ ในท้องถิ่น


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6185

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้