ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 1172 คน
จำนวนดาวน์โหลด :41ครั้้ง
การวิจัยประเมินผลนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การจัดการกำลังคนและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนในปีงบประมาณ 2566
นักวิจัย :
อุดม ทุมโฆสิต , วีระวัฒน์ ปันนิตามัย , สุรชัย พรหมพันธุ์ , สุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาว
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
1 สิงหาคม 2567

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินผลด้านการจัดการบุคคลและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ได้รับการถ่ายโอนจากกระทรวงสาธารณสุขไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมุ่งเน้น 1) ผลการเปลี่ยนแปลงด้านกำลังคน อันเนื่องมาจากการถ่ายโอน 2) สถานะปัญหาความขาดแคลนกำลังคน ทักษะความสามารถ และขวัญกำลังใจของกำลังคน 3) ปัญหาอุปสรรค หรือจุดแข็งจุดอ่อนของระบบการจัดการและการพัฒนากำลังคน และ 4) แนวทางพัฒนากำลังคน ในการนี้คณะวิจัยได้เลือกใช้รูปแบบการวิจัยประเมินผลเป็นวิธีวิทยาการประเมิน โดยได้ทบทวนวรรณกรรมและกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยประเมินผลขึ้นในรูปแบบโจทย์คำถามเพื่อเป็นแนวทางในการแสวงหาคำตอบ 9 ข้อ ในด้านวิธีวิทยาการวิจัยได้เลือกใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ในขั้นตอนแรกใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสำรวจข้อมูลเชิงคุณภาพมาทำการวิเคราะห์ ตีความเพื่อตอบโจทย์การวิจัย จาก รพ.สต. 32 แห่ง 8 จังหวัด 4 ภาค ขั้นตอนที่สอง ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยนำผลการวิจัยขั้นตอนแรกมาถอดประเด็นสำคัญแล้วมาตรวจสอบความเป็นทั่วไปและยืนยันผลด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยประชากร 3,263 แห่ง 49 จังหวัด ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการประเมินพบว่า 1) การเปลี่ยนแปลงด้านจำนวนกำลังคน สรุปได้ว่า หลังการถ่ายโอนได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีกว่าเดิม กล่าวคือ มีจำนวนกำลังคนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.74 คนต่อ รพ.สต. 2) สถานะปัญหาความขาดแคลนกำลังคน ทักษะความสามารถ และขวัญกำลังใจของกำลังคน พบว่า สถานะ (1) ด้านจำนวนกำลังคงของ รพ.สต. ยังขาดแคลนเมื่อเปรียบเทียบกับกรอบมาตรฐานกำลังคนทั้ง 8 ประเภทบุคลากร (2) ด้านทักษะความสามารถของกำลังคน พบว่า กำลังคนของ รพ.สต. ยังขาดทักษะอย่างมากในบริการด้านรักษาพยาบาล และ (3) ในด้านกำลังใจ พบว่า มีขวัญกำลังใจดีขึ้นกว่าก่อนการถ่ายโอน เนื่องจากได้เห็นบันไดความก้าวหน้าของบุคลากรดีขึ้นกว่าเดิม 3) ปัญหาอุปสรรคสำคัญคือ ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนและคุณภาพกำลังคนเมื่อเปรียบเทียบกับกรอบมาตรฐานกำลังคน และกรอบมาตรฐานคุณภาพบริการ รพ.สต. ติดดาว ยังผลให้ประชาชนในเขตบริการยังไม่ได้รับบริการสุขภาพที่ดีพอตามเป้าหมาย 4) แนวทางพัฒนากำลังคน รัฐมีความจำเป็นต้องพัฒนากำลังคนของ รพ.สต. ทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพให้บรรลุตามกรอบมาตรฐานดังกล่าวโดยด่วน คือ (1) เร่งผลิตกำลังคนให้เพียงพอแก่ความจำเป็น (2) พัฒนาทักษะความสามารถกำลังคนให้มีสมรรถนะสูงและทันสมัยอยู่เสมอ (3) สร้างขวัญกำลังใจบุคลากรให้มีความกระตือรือร้นและภาคภูมิใจในงานที่ทำ


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6130

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้