ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 443 คน
จำนวนดาวน์โหลด :145ครั้้ง
สรุปภาพรวม โครงการวิจัยประเมินผลนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
นักวิจัย :
อุดม ทุมโฆสิต , ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ , วรพิทย์ มีมาก , วีระวัฒน์ ปันนิตามัย , นิธินันท์ ธรรมากรนนท์ , จันทรานุช มหากาญจนะ , หลี่, เหรินเหลียง , ประยงค์ เต็มชวาลา , รติพร ถึงฝั่ง , ภาวิณี ช่วยประคอง , สุรชัย พรหมพันธุ์ , กรณ์ หุวะนันทน์ , วิทยา โชคเศรษฐกิจ , สมศักดิ์ จึงตระกูล , อลงกต สารกาล , จิรวัฒน์ ศรีเรือง , สุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาว
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
1 สิงหาคม 2567

รายงานสรุปภาพรวมมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่วนที่ 1 ประเมินการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ว่าได้ดำเนินการภารกิจของตนเพื่อให้การรับโอนเป็นไปตามหลักเกณฑ์การถ่ายโอนฯ ตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) หรือไม่ ผลการดำเนินการเป็นอย่างไร มีจุดแข็ง/จุดอ่อน หรือโอกาส/อุปสรรคขัดข้องอย่างไร และควรปรับปรุงพัฒนาต่อไปอย่างไร ส่วนที่ 2 ประเมินสถานะองค์รวมของระบบสุขภาพปฐมภูมิ (โดย รพ.สต. เป็นหน่วยบริการหลักในพื้นที่) ว่า หลังจากได้ถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ. แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่ อย่างไร สถานะของระบบโดยรวมเป็นอย่างไร มีจุดแข็ง/จุดอ่อนที่ควรเสริมส่งหรือปรับปรุงเพิ่มเติมอะไรบ้าง แนวทางการพัฒนาในอนาคตควรเป็นอย่างไร และส่วนที่ 3 ประเมิน 6+1 ชิ้นส่วนหลักของระบบสุขภาพปฐมภูมิ (โดย รพ.สต.) เป็นรายชิ้นส่วนว่าหลังการถ่ายโอนเป็นอย่างไร มีจุดอ่อน/จุดแข็งอะไรบ้างที่ควรปรับปรุงพัฒนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และแนวทางพัฒนาในอนาคตควรเป็นอย่างไร โดยใช้วิธีวิทยา “การวิจัยผสมผสาน” การศึกษาเชิงคุณภาพ ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) คัดเลือก รพ.สต. จำนวน 32 แห่ง กระจายออกไปใน 8 จังหวัดจาก 4 ภาคของประเทศ และการศึกษาเชิงปริมาณ ได้ใช้วิธีทอดแบบสอบถามไปยังประชากรทั้งหมด (จำนวน รพ.สต. 3,263 แห่ง อบจ. 49 แห่ง และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) 49 แห่ง) ซึ่งก็ได้รับการตอบกลับมาจำนวน 35 อบจ. 35 สสจ. และ 450 รพ.สต. และได้ผ่านการตรวจสอบแล้ว ว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ผลการประเมินแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 ผลการประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินการของ อบจ. ว่าได้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การถ่ายโอนฯ ตามประกาศ ก.ก.ถ. หรือไม่ กล่าวคือ ความก้าวหน้าในการจัดตั้งและการดำเนินการด้านโครงสร้างองค์กร พบว่า ทุกจังหวัดได้จัดตั้งเรียบร้อยแล้ว การจัดตั้งกองสาธารณสุขขึ้นใน อบจ. พบว่า อบจ. ทุกแห่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ใน 4 กิจกรรม ความก้าวหน้าในการดำเนินการด้านงานบุคคล การรับการถ่ายโอนบุคลากรสมัครใจรับการถ่ายโอนมายัง อบจ. ทุกแห่ง ได้ดำเนินการเรียบร้อย ความก้าวหน้าในการดำเนินการด้านงบประมาณ การเงิน และการบัญชี พบว่า อบจ. ทุกแห่ง ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ใน 4 กิจกรรม ความก้าวหน้าในการดำเนินการด้านการกำกับ ติดตาม และประเมินผล พบว่า หลังการถ่ายโอน 5-6 เดือน อบจ. ไม่สามารถทำการประเมินผลการปฏิบัติได้ครบถ้วน แต่ อบจ. ได้เอาใจใส่โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ รวมถึงมีการกำหนดรอบการประเมินไว้อย่างชัดเจน ส่วนที่ 2 ผลการประเมินองค์รวมของระบบบริการปฐมภูมิ ผลการประเมินพบว่า หลังการถ่ายโอนองค์รวมของระบบสุขภาพปฐมภูมิยังคงเหมือนเดิม (เหมือนกับก่อนการถ่ายโอน) และสถานะองค์รวมของระบบสุขภาพปฐมภูมิ พบว่า ในด้านการเปรียบเทียบการบริการระหว่างก่อนโอนและหลังโอน พบว่า ส่วนใหญ่ยังคงเหมือนเดิม ส่วนที่ 3 ผลการประเมินชิ้นส่วนหลัก 7 ชิ้นส่วน ผลการประเมินพบว่า 1) การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิของ รพ.สต. สรุปได้ว่าตัวแบบและลักษณะการให้บริการส่วนใหญ่ ยังใช้รูปแบบเดิมตามเกณฑ์ของ รพ.สต. ติดดาว 2) การจัดการกำลังคน พบว่า หลังการถ่ายโอนจำนวนกำลังคนของ รพ.สต. มีกำลังคนเพิ่มขึ้นจากก่อนการถ่ายโอนเฉลี่ย 0.74 คนต่อ รพ.สต. 3) การจัดการระบบสารสนเทศ พบว่า ส่วนใหญ่การจัดการระบบสารสนเทศยังคงเหมือนกับก่อนการถ่ายโอน 4) การจัดการยา เวชภัณฑ์ และครุภัณฑ์การแพทย์ พบว่า หลังการถ่ายโอนมาอยู่กับ อบจ. ภาพรวมการจัดการยา เวชภัณฑ์ และครุภัณฑ์การแพทย์ของ รพ.สต. (ร้อยละ 93.75) ยังคงเหมือนเดิม 5) การจัดการระบบการเงินและงบประมาณ พบว่า หลังการถ่ายโอน มีลักษณะเปลี่ยนไป ดังนี้ (1) เงินเหมาจ่ายรายหัวจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีสัดส่วนร้อยละ 36 ของรายได้ทั้งหมด (2) รายได้จากเงินอุดหนุนตามขนาดที่ได้รับการจัดสรรเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์การถ่ายโอน มีสัดส่วนร้อยละ 40 (3) เงินอุดหนุนเพิ่มเติมจาก อบจ. เฉลี่ยร้อยละ 3 (4) เงินอุดหนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ร้อยละ 6 (5) เงินค่าเสื่อมราคาร้อยละ 5 และ (6) รายได้อื่น ๆ ร้อยละ 10 6) การอภิบาลระบบสุขภาพปฐมภูมิ พบว่า หลังการถ่ายโอน มีแนวโน้มว่าระบบสุขภาพปฐมภูมิในส่วนของ อบจ. และส่วนของ สสจ. จะแยกออกจากกัน หากไม่ได้รับการบูรณาการที่เหมาะ ซึ่งทั้ง สสจ. และ อบจ. มีความเห็นตรงกันว่า ควรมีการพัฒนาระบบอภิบาลของชาติให้มีเอกภาพตามหลักการระบบสุขภาพปฐมภูมิ และ 7) การมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า หลังการถ่ายโอน ผลลัพธ์และผลกระทบต่อประชาชนในด้านบริการต่าง ๆ ของ รพ.สต. ส่วนใหญ่ยังคงเหมือนกับก่อนการถ่ายโอน ประชาชนมีความพึงพอใจมากขึ้น และมีความเชื่อมั่นในการให้บริการของ รพ.สต.


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6134

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้