ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 390 คน
จำนวนดาวน์โหลด :51ครั้้ง
การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกเพื่อการสร้างเสริมจุลินทรีย์ที่ดี ในลำไส้ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (ปีที่ 2)
นักวิจัย :
รวี เถียรไพศาล , วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ , ศุภฤกษ์ เลาหวิริยะกมล , นันทิยา พาหุมันโต
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
20 มีนาคม 2567

มะเร็งลำไส้เป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ของมะเร็งทุกชนิดในประชากรทั่วโลก สาเหตุสัมพันธ์กับการขาดสมดุลของจุลินทรีย์ในช่องท้อง มีรายงานการศึกษาก่อนหน้าทั้งการศึกษานอกกายและการศึกษาในกายแสดงให้เห็นว่า จุลินทรีย์โพรไบโอติกสามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ได้ กลไกการทำงานของโพรไบโอติกในการป้องกันมะเร็งลำไส้ ได้แก่ การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคซึ่งจะเป็นสาเหตุเหนี่ยวนำให้เซลล์ลำไส้เปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง สร้างสารที่ช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ต้านการอักเสบและส่งเสริมให้เซลล์ลำไส้ทำงานได้ตามปกติ ปัจจุบันมีรายงานว่าโพสต์ไบโอติก หมายถึงสารประกอบที่ได้จากโพรไบโอติก จากน้ำเลี้ยงโพรไบโอติก รวมถึงเซลล์โพรไบโอติกที่ไม่มีชีวิต สามารถให้ประสิทธิภาพในการทำงานเช่นเดียวกับโพรไบโอติกที่มีชีวิต ในรายงานนี้เป็นการรายงานฉบับสมบูรณ์ของการดำเนินงานของปีที่ 2 ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ถึง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของต้นแบบผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกสายพันธุ์ แลคโตแบซิลลัส พาราเคซิอิเอสดีหนึ่งและแลคโตแบซิลลัส แรมโนซัส เอสดีสิบเอ็ดร่วมกัน ในทางคลินิก โดยเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ในรูปแบบจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีชีวิตและจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ไม่มีชีวิต และมีกลุ่มควบคุมที่ไม่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติก ทั้งนี้โดยติดตามผลของผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกต่อระบบนิเวศน์ของจุลินทรีย์ประจำถิ่นในทางเดินอาหารหรือไมโครไบโอม และระบบภูมิคุ้มกันในอาสาสมัครมะเร็งลำไส้ ผลการศึกษา มีอาสาสมัครเป็นผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 2 และระยะ 3 ซึ่งได้รับการรักษาตามมาตรฐานแล้ว 6 เดือน อยู่ระหว่างการติดตามของแพทย์ผู้ให้การรักษาเข้าร่วมในโครงการ จำนวน 30 คน เมื่อสิ้นสุดโครงการหลังการติดตาม 6 เดือน มีอาสาสมัครเหลือในโครงการ จำนวน 28 คน เป็นกลุ่มโพรไบโอติกที่มีชีวิต จำนวน 10 คน จุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ไม่มีชีวิต จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติก จำนวน 8 คน ผลการศึกษาพบว่า ระดับสารอักเสบ IL-1β, TNF-α, IL-6, IL-8 และ IL-17A ในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังได้รับผลิตภัณฑ์ 6 เดือน โดยในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่มีชีวิต ค่า p-value<0.001, 0.014, <0.001, 0.046, 0.035 ตามลำดับ และกลุ่มได้รับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่ไม่มีชีวิต ค่า p-value<0.001, <0.001, <0.001, 0.005, 0.033 ตามลำดับ ในทางตรงกันข้าม ระดับสารอักเสบดังกล่าวในกลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า p<0.001, <0.001, 0.001 ตามลำดับ นอกจากนี้ ระดับสารต้านการอักเสบ IL-10 and IL-12 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่มีชีวิต ค่า p-value=0.004 และ <0.001; และ กลุ่มได้รับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่ไม่มีชีวิต ค่า p-value=0.016 และ <0.001 สำหรับกลุ่มควบคุมระดับ IL-10 and IL-12 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า p-value 0.039 และ > 0.05 ตามลำดับ ในการตรวจหาระดับสารกรดไขมันสายสั้นในน้ำล้างลำไส้ พบทุกกลุ่มมีค่าบิวทิเรทและโพรพิโอเนทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับเวลาเริ่มต้น โดยการเปรียบเทียบมีค่า p<0.001 ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่ไม่มีชีวิตเทียบกับกลุ่มควบคุม มีค่าบิวทิเรทและโพรพิโอเนทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า p-value=0.039 และ <.001 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่มีชีวิตมีระดับบิวทิเรทและโพรพิโอเนทเพิ่มขึ้นเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผลของโพรไบโอติกต่อไมโครไบโอม พบความหลากหลายของไมโครไบโอต้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้รับโพรไบโอติกทั้งชนิดมีชีวิตและไม่มีชีวิต พบเชื้อแบคทีรอยดีส์และพรีโวเทลลา ซึ่งเป็นเชื้อทางเดินอาหารเพิ่มขึ้น รวมทั้งเชื้อแฟคาลิแบคทีเรีย ซึ่งเป็นเชื้อสร้างสารบิวทิเรทและพบเชื้อฟิวโซแบคทีเรียม ซึ่งเป็นเชื้อเกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดลงในกลุ่มได้รับโพรไบโอติก โดยสรุปผลการศึกษานี้สนับสนุนการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์แลคโตแบซิลลัสพาราเคซิอิเอสดีหนึ่งร่วมกับจุลินทรีย์แลคโตแบซิลลัสแรมโนซัสเอสดีสิบเอ็ด มีผลดีในการปรับสภาวะในลำไส้ของอาสาสมัครที่เป็นมะเร็งลำไส้ให้ดีขึ้น เป็นการเพิ่มข้อมูลของการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์ดังกล่าวในทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6029

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้