ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 1438 คน
จำนวนดาวน์โหลด :50ครั้้ง
การสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2565-2566 (ระยะที่ 1)
นักวิจัย :
กรกมล นิยมศิลป์ , จิราพร ขีดดี , นพวรรณ โพชนุกูล , ภัทราภรณ์ หัสดิเสวี , ณัฐพงค์ กันทะวงค์ , ณัฐมนัสนันท์ ศรีทอง , ชนิกา โรจน์สกุลพานิช
ปีพิมพ์ :
2565
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
14 กุมภาพันธ์ 2566

กรมอนามัย โดยสำนักทันตสาธารณสุข ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ จึงได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าวในระดับประเทศเป็นระยะทุก 5 ปี และในปี พ.ศ. 2565 ได้จัดทำโครงการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2565-2566 เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพช่องปาก พฤติกรรม ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปากของประชากรไทย แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการเตรียมการสำรวจ และระยะที่ 2 เป็นการดำเนินการสำรวจ สรุปและรายงานผล โดยการดำเนินงานในระยะที่ 1 ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เพื่อพัฒนาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ ปรับมาตรฐานทีมสำรวจและการเตรียมพื้นที่สำรวจในการบริหารจัดการให้การสำรวจประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ การวิจัยนี้เป็นการสำรวจใน 7 กลุ่มอายุดัชนี ได้แก่ กลุ่มอายุ 3 ปี 5 ปี 12 ปี 15 ปี 35-44 ปี 60-74 ปี และ 80-85 ปี และศึกษาผลกระทบจากสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตในเด็กอายุ 12 ปี โดยมีพื้นที่การดำเนินการสำรวจใน 25 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร (เขตพญาไท วังทองหลาง คลองสามวา พระโขนง ธนบุรี บางกอกใหญ่) และ 12 เขตสุขภาพ เขตละ 2 จังหวัด รวม 24 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย แพร่ ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร ชัยนาท อ่างทอง ปทุมธานี สุพรรณบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง กาฬสินธุ์ มหาสารคาม หนองคาย นครพนม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ ชุมพร กระบี่ พัทลุง และสตูล ซึ่งเก็บข้อมูลผลกระทบจากสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตในเด็กอายุ 12 ปี ใน 7 จังหวัด คือ จังหวัดแพร่ กำแพงเพชร ปทุมธานี ชัยภูมิ ศรีสะเกษ กระบี่ และกรุงเทพมหานคร ทีมวิจัยได้พัฒนาเครื่องมือและหาคุณภาพเครื่องมือการสำรวจ โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครื่องมือการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะความเหมาะสมของแบบตรวจสุขภาพช่องปาก แบบสัมภาษณ์ ข้อคำถามตามความตรงด้านเนื้อหาและความเหมาะสมของภาษา นำผลที่ได้จากการประชุมผู้เชี่ยวชาญมาปรับแก้ไขแบบตรวจสุขภาพช่องปากและแบบสัมภาษณ์ตามข้อแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบความสอดคล้องและความตรงเชิงเนื้อหาของรายการข้อคำถาม (Content Validity) ของแบบสัมภาษณ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.81–0.94 และสรุปค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.88 และดำเนินการทดลองใช้แบบสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างที่คล้ายคลึงกับประชากรที่ศึกษา (Try Out) เพื่อทดสอบด้านความเหมาะสมของภาษา เพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เข้าใจข้อคำถามได้ตรงตามวัตถุประสงค์มากขึ้น โดยทดลองใช้แบบสัมภาษณ์ใน 4 กลุ่มอายุ ได้แก่ 12 ปี 15 ปี 35-44 ปี และ 60–74 ปี กลุ่มอายุละ 10 คน และนำข้อสังเกตที่ได้จากการสอบถามมาพัฒนาแบบสัมภาษณ์และแนวทางการสัมภาษณ์ นอกจากนี้ยังได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงแนวทางการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 แก่เจ้าหน้าที่จากจังหวัดที่เป็นพื้นที่สำรวจทั้ง 25 จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงกระบวนการดำเนินงานตามหลักของระบาดวิทยา ให้ผู้ประสานงานในจังหวัดพื้นที่เป้าหมายเข้าใจ สามารถจัดเตรียมพื้นที่ เตรียมกลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งประสานงานกับทีมสำรวจ เพื่อให้ได้แผนการลงพื้นที่สำรวจของแต่ละจังหวัด เกิดการวางแผนในการบริหารจัดการให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน โดยผู้เข้าร่วมการประชุม เป็นผู้แทนจากจังหวัดซึ่งจะเป็นผู้ประสานงานหลักในพื้นที่ จาก 24 จังหวัดพื้นที่สำรวจ เจ้าหน้าที่จากศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ผู้แทนจากศูนย์อนามัยและสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง จำนวน 13 แห่ง และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง โดยจัดทำคู่มือ/แนวทางการสำรวจ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมการสำรวจขึ้นอีกด้วย เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง เชื่อถือได้ ตามหลักวิชาการ จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการปรับมาตรฐานทีมเก็บข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ทั้งในส่วนของการตรวจสภาวะช่องปากและการสัมภาษณ์ โดยเชิญทันตแพทย์ซึ่งเป็นผู้ตรวจสภาวะช่องปาก ผู้แทนจากจังหวัดซึ่งเป็นผู้สัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กอายุ 12 ปี รวมทั้งนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้อง เข้าประชุมและลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติ โดยในเด็กกลุ่มอายุ 5 ปี ดำเนินการปรับมาตรฐานการตรวจโรคฟันผุในฟันน้ำนม ส่วนในเด็กกลุ่มอายุ 12 ปี กลุ่มผู้ใหญ่ 35-44 ปี และผู้สูงอายุ 60-74 ปี ดำเนินการปรับมาตรฐานการตรวจโรคฟันผุในฟันถาวร และสภาวะปริทันต์ ผลการปรับมาตรฐานการตรวจ พบว่า ค่า Kappa และค่าร้อยละของความเหมือน (Percent agreement) ของทันตแพทย์ผู้ตรวจทุกคนผ่านเกณฑ์เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีค่า Kappa และค่า Percent agreement อยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ (ดังตารางที่ 9) นอกจากนี้ยังมีการปรับมาตรฐานการสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากเด็ก 12 ปี (Child-OIDP) ประกอบด้วยการฝึกสัมภาษณ์และหาค่าความเที่ยงระหว่างผู้สัมภาษณ์แต่ละคนกับผู้เชี่ยวชาญ (Gold Standard) ด้วยสถิติ Intraclass Correlation Coefficient (ICC) ได้ค่าความเที่ยงอยู่ในช่วงระหว่าง 0.73-0.92 (ดังตารางที่ 8)


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5819

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้