รวมรวมแสดงข่าวสารประชาสัมพันธ์ของสถานับที่น่าสนใจ
เป้าหมายของการวิจัย คือ การสร้างความรู้ใหม่ หลักการของการวิจัย คือ จะต้องดำเนินการตามกฎเกณฑ์และวิธีการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ ผลผลิตที่สำคัญของการวิจัย คือ ข้อมูล (Data) ที่เชื่อถือได้ คำว่า "เชื่อถือได้" นี้ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Credible” มิใช่ “Reliable” สำหรับการวิจัยในมนุษย์ หรือการวิจัยที่ใช้มนุษย์ เป็น "วัตถุวิจัย" (Subjects) นอกจากต้องทำตามหลักการข้างต้นแล้ว ยังต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตาม "หลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์" ด้วย จึงจะเป็นการวิจัยที่ถูกทำนองคลองธรรม เจตนารมณ์หรือความมุ่งมั่นเพื่อจะให้ได้ความรู้ใหม่ที่สามารถนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ทำให้บางครั้งเกิดการปฏิบัติต่อมนุษย์ที่นำมาทดลองอย่างผิดทำนองคลองธรรม จนเกิดเป็นเรื่องเสื่อมเสียและหลายกรณีกลายเป็นเรื่องอื้อฉาว ทำให้มีการกำหนดกฎเกณฑ์และกติกาขึ้นโดยลำดับ จนในที่สุด เมื่อเกิดโรคระบาดใหญ่อย่างโรคโควิด-19 สังคมมนุษย์ก็สามารถวิจัยเครื่องมือ ทั้งวัคซีนและยาขึ้นมาได้อย่างมีประสิทธิผล และความปลอดภัยสูง จนสามารถฝ่าวิกฤตนี้มาได้อย่างน่ายินดี ดีกว่าครั้งเกิดการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่สเปนอย่างชัดเจน ซึ่งหนังสือ “ก่อนจะมาเป็นการวิจัยที่ถูกทำนองคลองธรรม” เล่มนี้ เป็นความพยายามจะอธิบายพัฒนาการของหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์อย่างย่อ โดยพยายามนำเสนอสาระที่สำคัญอย่างรอบด้าน มีตัวอย่างรูปธรรม รวมทั้งแนะนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องและแนวทางสากลที่ทั่วโลกยอมรับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งนักวิจัย ผู้ให้ทุนวิจัย หน่วยงานควบคุมกฎระเบียบ นักศึกษาและประชาชนทั่วไป
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้