ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 1352 คน
จำนวนดาวน์โหลด :115ครั้้ง
ต้นทุนบริการสุขภาพสำหรับการรักษาผู้ป่วยอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยาเปรียบเทียบกับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาล
นักวิจัย :
ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ , ตวงรัตน์ โพธะ , ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
19 กันยายน 2566

อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย (Common Illness) เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในประชาชน ความรุนแรงและความซับซ้อนของโรคน้อย ประชาชนสามารถดูแลรักษาตนเองในเบื้องต้นได้ การรับบริการที่ร้านยาจึงเป็นทางเลือกที่ประชาชนเลือกใช้บริการ การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่ประมาณการต้นทุนที่ประหยัดได้ของบริการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ครอบคลุม 16 อาการตามประกาศของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับสภาเภสัชกรมในโครงการร้านยารูปแบบใหม่ Common Illness ที่ร้านยาต่อต้นทุนของระบบสุขภาพของประเทศไทย การศึกษานี้รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิย้อนหลังของการศึกษาต่างๆ ที่มีรายงานจำนวนครั้งในการมารับบริการรักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ ต้นทุนทางตรงที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์และต้นทุนทางอ้อม เพื่อประมาณการต้นทุนความเจ็บป่วย (Cost of Illness) ของบริการรักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยาเปรียบเทียบกับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาล จาก 3 มุมมอง คือ มุมมองภาครัฐ มุมมองผู้ป่วยและมุมมองสังคม โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นว่า ผู้ป่วยชำระค่ายาและค่าบริการด้วยตนเอง จำนวนครั้งเฉลี่ยต่อเดือนของการรับบริการรักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เท่ากับ 2,356 ครั้ง โดยกลุ่มอาการที่มีผู้ป่วยมารับบริการมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ กลุ่มอาการเจ็บคอ ไข้ และปวดท้อง เท่ากับ 529 ครั้ง, 442 ครั้ง และ 394 ครั้ง ตามลำดับ และผลการประมาณการต้นทุนที่ประหยัดได้ของบริการรักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยาต่อต้นทุนของระบบสุขภาพของประเทศไทย พบว่า หากประชาชนเลือกมารับบริการรักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยา แทนการไปรับบริการแบบผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จาก 3 มุมมอง ได้แก่ ภาครัฐ ผู้ป่วยและสังคม พบว่า ต้นทุนที่ประหยัดได้เฉลี่ยต่อครั้ง (cost saving per visit) คือ 446 – 683, 665 – 901 และ 742 – 927 บาท ตามลำดับ และเมื่อคำนวณจากปริมาณการรับบริการใน 1 ปี พบว่า ต้นทุนที่ประหยัดได้เฉลี่ยต่อปี (cost saving per year) คือ 16.49 – 25.23, 24.56 – 33.30 และ 27.39 – 34.26 ล้านบาท ตามลำดับ และที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ พบว่า ต้นทุนที่ประหยัดได้เฉลี่ยต่อครั้ง (cost saving per visit) คือ 212 – 448, 430 - 667 และ 507 - 692 บาท ตามลำดับ และเมื่อคำนวณจากปริมาณการรับบริการใน 1 ปี พบว่า ต้นทุนที่ประหยัดได้เฉลี่ยต่อปี (cost saving per year) คือ 7.81 – 16.56, 15.88 – 24.63 และ 18.72 – 25.58 ล้านบาท ตามลำดับ หรือกล่าวได้ว่าทุก 1 บาท ที่เบิกจ่ายค่ารักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยในร้านยา จะประหยัดต้นทุนในระบบสุขภาพของประเทศไทยเพิ่ม หากประชาชนเลือกมารับบริการรักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยา แทนการไปรับบริการแบบผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ประหยัดได้ตั้งแต่ 1.41 – 8.58 บาท และโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ ประหยัดได้ตั้งแต่ 0.67 - 5.63 บาท ซึ่งการประหยัดนี้มาจากการที่ประชาชนไม่ต้องลางานเพื่อไปรอคอยรับบริการที่โรงพยาบาล สรุปได้ว่า การจัดบริการรักษา 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ร้านยาสามารถประหยัดต้นทุนได้อย่างชัดเจน


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5925

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้