ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 868 คน
จำนวนดาวน์โหลด :36ครั้้ง
การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานบริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) ในประเทศไทย
นักวิจัย :
จิราพร ลิ้มปานานนท์ , วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร , รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ , วิไลลักษณ์ ตันตะโยธิน , กุลวดี ศรีพานิชกุลชัย , นุศราพร เกษสมบูรณ์ , มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ , สิริลักษณ์ บัวเจริญ , อาทิตย์ สอดแสงอรุณงาม , ศิริรัตน์ ตันปิชาติ
ปีพิมพ์ :
2564
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
19 มกราคม 2565

ปัจจุบัน สภาเภสัชกรรมได้ออกประกาศ เรื่องการกำหนดมาตรฐานและขั้นตอนการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อให้มีแนวทางการดำเนินงานเภสัชกรรมทางไกลที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวทางขั้นพื้นฐานของระบบบริการเภสัชกรรมทางไกลและแนวทางการบริบาลเภสัชกรรม รวมทั้งจัดทำสถาปัตยกรรมข้อมูล (Data Architecture) ที่รองรับการดำเนินงานเภสัชกรรมทางไกล การศึกษานี้เป็นโครงการเชิงพัฒนา การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เริ่มจากการทบทวนวรรณกรรม จาก guideline/standard of practice ของต่างประเทศ และการจัดการขนส่งซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ วิเคราะห์ความเหมาะสมของมาตรฐานต่างประเทศกับบริบทของประเทศไทย ; ทีมวิจัยสังเคราะห์ร่างแนวทางขั้นพื้นฐานของระบบบริการเภสัชกรรมทางไกล แนวทางการบริบาลเภสัชกรรม ; สนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและรับฟังความเห็นต่อร่างฯ จากผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและสรุปร่างแนวทางขั้นพื้นฐานของระบบบริการเภสัชกรรมทางไกล แนวทางการบริบาลเภสัชกรรม การดำเนินงานในระยะที่ 2 เป็นการจัดทำร่างสถาปัตยกรรมข้อมูลที่รองรับการดำเนินงานเภสัชกรรมทางไกลโดยใช้ร่างแนวทางขั้นพื้นฐานของระบบฯ ที่เป็นข้อสรุปจากระยะที่ 1 หลังจากนั้นจัดรับฟังความเห็นในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องและสรุปสถาปัตยกรรมข้อมูลที่รองรับการดำเนินงานเภสัชกรรมทางไกล ผลการศึกษาระยะที่ 1 ในการจัดทำแนวทางขั้นพื้นฐานของระบบบริการเภสัชกรรมทางไกลและแนวทางการบริบาลเภสัชกรรม ได้แก่ ชุดข้อมูลพื้นฐานประกอบด้วย ข้อมูลผู้ป่วย ใบสั่งยา การจ่ายยา การบริบาลเภสัชกรรมและการขนส่งยา แนวทางขั้นพื้นฐานของระบบบริการเภสัชกรรมทางไกล ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ แนวทางการบริบาลเภสัชกรรม ได้แก่ การวิเคราะห์ใบสั่งยาและจัดเตรียมยาตามใบสั่งยาทางไกล (remote prescription) การขนส่งยา (drug transportation) การให้คำปรึกษาด้านยาทางไกล (remote counseling) ผลการศึกษาระยะที่ 2 ได้แก่ (ร่าง) Data Architecture สำหรับส่งข้อมูลโดยใช้ HL7-FHIR โดยกำหนดมาตรฐานข้อมูล ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่จะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน บนพื้นฐานข้อมูลชุดเดียวกัน ส่งผลต่อผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยที่ดีต่อไป ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ข้อเสนอต่อสภาเภสัชกรรมในการประสานงานเพื่อให้เกิดการประกาศใช้แนวทางการบริการเภสัชกรรมทางไกล ข้อมูลมาตรฐานและข้อเสนอในการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรชุมชนให้รองรับระบบบริการเภสัชกรรมทางไกล


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5461

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้