รวมรวมแสดงข่าวสารประชาสัมพันธ์ของสถานับที่น่าสนใจ
คู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562 เล่มนี้ เป็นการศึกษาผลกระทบด้านบวกและลบที่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีหรือนโยบายทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีการพัฒนาคู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในประเทศไทยมาแล้ว 2 ฉบับ โดยฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2551 และฉบับที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2557 เนื้อหาภายในคู่มือฯ เล่มนี้ ประกอบด้วย 19 บท ได้แก่ บทที่ 1 การพัฒนาคู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562 บทที่ 2 การกำหนดขอบเขตการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข บทที่ 3 การประเมินต้นทุน บทที่ 4 การวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพเพื่อใช้ในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขในกระบวนการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ บทที่ 5 อรรถประโยชน์ บทที่ 6 กรอบเวลาและการใช้อัตราลด บทที่ 7 การวิเคราะห์ความไว บทที่ 8 การตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลอง บทที่ 9 การรายงานการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และการประเมินคุณภาพงานวิจัย บทที่ 10 การวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณ บทที่ 11 การประเมินผลกระทบด้านสังคมและจริยธรรมของเทคโนโลยีด้านสุขภาพ บทที่ 12 การศึกษาความเป็นไปได้ บทที่ 13 บทบาทของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในการพัฒนาระบบสุขภาพ บทที่ 14 การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขสำหรับโรคติดเชื้อและวัคซีน บทที่ 15 การประเมินความคุ้มค่าทางสาธารณสุขของมาตรการคัดกรองโรค บทที่ 16 การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กรณีเครื่องมือแพทย์ บทที่ 17 การสร้างแบบจำลอง เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขของยามะเร็ง บทที่ 18 การใช้หลักฐานจากสถานการณ์จริงในการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ และ บทที่ 19 การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข สำหรับเทคโนโลยีด้านสุขภาพอื่นๆ
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้