ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 247 คน
จำนวนดาวน์โหลด :65ครั้้ง
การพัฒนาระบบการแพทย์ในการดูแลสุขภาวะของบุคคลข้ามเพศ
นักวิจัย :
จิราภรณ์ อรุณากูร , สิระ กอไพศาล , รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด , คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ , ณัฐนิตา มัทวานนท์
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
22 สิงหาคม 2566

บทนำ : ในปัจจุบันบุคคลข้ามเพศเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในสังคมไทยและเป็นกลุ่มคนที่มีความต้องการในการบริการสุขภาพที่จำเพาะ ระบบบริการสุขภาพบุคคลข้ามเพศยังคงมีปัญหาและอุปสรรคอยู่ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์การให้บริการสุขภาพบุคคลข้ามเพศในปัจจุบันและเพื่อศึกษาข้อมูลสุขภาพของบุคคลข้ามเพศ อันประกอบด้วยผลจากฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศ สุขภาพจิตของบุคคลข้ามเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในบุคคลข้ามเพศ เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพของบุคคลข้ามเพศในประเทศไทย วิธีการศึกษา : การศึกษาแบ่งออกเป็น 4 โครงการวิจัยย่อย โดยโครงการวิจัยย่อยที่ 1, 2 และ 3 เป็นการประเมินผลของการรักษาเพื่อเปลี่ยนเพศด้วยฮอร์โมนต่อสุขภาพทั่วไป การติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และสุขภาพจิตตามลำดับ โครงการวิจัยย่อยที่ 4 เป็นการจัดประชุมวิเคราะห์สถานการณ์การให้บริการสุขภาพของบุคคลข้ามเพศและส่งเสริมความรู้การดูแลสุขภาพบุคคลข้ามเพศ ผลการศึกษา : การรักษาด้วยฮอร์โมนมีประสิทธิภาพสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสรีระในบุคคลข้ามเพศทุกคน โดยในบุรุษข้ามเพศอาจส่งผลให้มีความดันเลือดสูงขึ้น มีระดับกรดยูริคที่สูงขึ้นโดยไม่มีรายงานถึงโรคเก๊าท์กำเริบ ค่าความเข้มข้นของเลือดแนวโน้มสูงขึ้นและมีการทำงานของไตลดลงเล็กน้อย โดยไม่พบผลเสียต่อการทำงานของตับและระดับน้ำตาลในเลือดในสตรีข้ามเพศ สามารถลดระดับความดันเลือดได้เล็กน้อย โดยไม่พบการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของตับ ระดับน้ำตาลในเลือด กรดยูริคและระดับไขมัน นอกจากนั้น ในทั้ง 2 กลุ่ม ไม่พบการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เลย แต่มีอัตราการป้องกันระหว่างการมีกิจกรรมทางเพศที่ค่อนข้างต่ำในบุรุษข้ามเพศที่มีกิจกรรมทางเพศและพบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีที่ค่อนข้างต่ำในบุคคลข้ามเพศ สำหรับผลทางด้านสุขภาพจิต เมื่อติดตามการรักษาพบว่า บางภาวะมีอาการเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อย ได้แก่ ภาวะซึมเศร้าและการวิตกกังวล แต่พบผลดีต่อภาวะทุกข์ใจในเพศสภาพ สมาธิสั้นและการติดเกมหลังได้รับการรักษาจากการวิเคราะห์สถานการณ์การให้บริการสุขภาพบุคคลข้ามเพศนั้น พบปัญหาและอุปสรรคเป็นจำนวนมาก ทั้งจากผู้รับบริการและผู้ให้บริการเอง ประเด็นหลักคือ การไม่ถูกคุ้มครองด้วยกฎหมายถึงสิทธิพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นจากการถูกเลือกปฏิบัติ การเข้าถึงการรักษา หลักประกันสุขภาพและสวัสดิการที่ไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษา ขาดเงินทุนสนับสนุนในการจัดตั้งสถานที่ให้บริการทางสุขภาพ ทั้งนี้สามารถสรุปเป็นคำแนะนำ 8 ด้านที่ควรพัฒนาคือ การคุ้มครองการไม่เลือกปฏิบัติ สนับสนุนด้านเงินทุน ด้านการศึกษาและการฝึกอบรม สนับสนุนบริการสุขภาพจิต การเข้าถึงการบำบัดด้วยฮอร์โมนและการผ่าตัดการรวบรวมข้อมูล สนับสนุนการจัดตั้งชุมชนเครือข่ายและสนับสนุนกฎหมาย สรุป : การเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของบุคคลข้ามเพศหลังรับการรักษาด้วยฮอร์โมนมีความจำเพาะ โดยส่วนใหญ่สอดคล้องกับข้อมูลของต่างชาติ ยกเว้นผลต่อสุขภาพจิตในด้านภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลที่จำเป็นต้องได้รับการประเมินอย่างต่อเนื่อง บุคลากรทางการแพทย์ควรทราบข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ เพื่อการตรวจติดตามสุขภาพของบุคคลข้ามเพศ การบริการสุขภาพยังคงมีอุปสรรคหลายด้าน ทั้งจากมุมมองของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ นโยบายที่สนับสนุนคลินิกบุคคลข้ามเพศควรได้รับการออกแบบ เพื่อให้แน่ใจว่าบุคคลข้ามเพศได้รับบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพสูง ครอบคลุม มีความละเอียดอ่อนและมีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5916

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้