ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 25 คน
การสร้างและจัดการองค์ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค: ทบทวนผลการดำเนินงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มุ่งสู่ทางข้างหน้า
นักวิจัย :
วริศา พานิชเกรียงไกร , ชาฮีดา วิริยาทร , อรทัย วลีวงศ์ , จอมขวัญ โยธาสมุทร , จิณณพัต สุวรรณเกตกะ , วริษฐา หวังศิรบรรจง ,
ปีพิมพ์ :
2568
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
2 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการระดับชาติด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ. 2567 ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ภายใต้หัวข้อ “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค: กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนานโยบายด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการผลิตองค์ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของไทย เพื่อใช้เป็นเอกสารนำเข้าในการประชุมดังกล่าว รวมถึงรวบรวมความคิดเห็นและการระดมสมองจากผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาข้อเสนอสำหรับการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การศึกษานี้ได้นำแนวคิดด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและกฎบัตรออตตาวามาใช้ในการออกแบบการศึกษาเชิงวิชาการ โดยมีประเด็นสำคัญ 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ระบบนิเวศเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์นโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง ความสำเร็จและความท้าทาย รวมถึงแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทุกคน 2) กองทุนสุขภาพตำบล เป็นการวิเคราะห์ผลการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะการจัดการด้านสุขภาพ การใช้ทรัพยากร และประสิทธิภาพในการดำเนินงานภายใต้กองทุนตำบล 3) การเพิ่มความสามารถให้ประชาชนในการดูแลสุขภาพ กรณีศึกษา โรคเบาหวานระยะสงบ เป็นการศึกษาความสำเร็จในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ และการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในการดูแลตนเอง และ 4) การป้องกันภาวะเปราะบางในสังคมสูงวัย เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลการคัดกรองและดูแลภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชน ความท้าทายในการค้นหาและดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะก่อนเปราะบางให้กลับมาเป็นกลุ่มที่มีสุขภาพแข็งแรง รวมถึงการดูแลกลุ่มที่มีภาวะเปราะบางให้กลับมาเป็นกลุ่มที่มีภาวะก่อนเปราะบาง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้จากการจัดทำข้อมูลดังกล่าว ร่วมกับข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ. 2567 ถูกนำมาใช้ในการจัดทำข้อเรียกร้องเพื่อการลงมือทำทันที จำนวน 23 ข้อ ครอบคลุมสาระสำคัญด้านการสร้างเสริมความเข้มแข็งของนโยบายสาธารณะ ความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางกำกับควบคุม การยกระดับการดำเนินงาน ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับชาติและระดับท้องถิ่น การสนับสนุนการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นและชุมชน กลยุทธ์ด้านสุขภาพแบบเฉพาะกลุ่มและพื้นที่ การพัฒนากลไกการติดตามและประเมินผล การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง และการพัฒนาระบบสุขภาพโดยยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดยสาระสำคัญดังกล่าวเป็นมติร่วมกันของผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ. 2567 ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนและพัฒนานโยบายด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยให้มีความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6284

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้