ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 26 คน
การใช้ฐานข้อมูลเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนในการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อปกป้องกลุ่มเปราะบางจากมลพิษข้ามแดน กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา สปป.ลาว
นักวิจัย :
สมพร เพ็งค่ำ , ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์ , สุภาพร วรรณสันทัด , มนทกานต์ ฉิมมามี , ธัญศิภรณ์ ณ น่าน , สุกัญญา มีสกุลทอง ,
ปีพิมพ์ :
2568
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
2 กรกฎาคม 2568

งานวิจัยเรื่อง การใช้ฐานข้อมูลเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนในการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อปกป้องกลุ่มเปราะบางจากมลพิษข้ามแดน กรณี โรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา สปป.ลาว เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนกรณีมลพิษข้ามแดนจากโรงไฟฟ้าหงสา ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปิดพื้นที่ปฏิบัติการร่วมอันนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายนักวิจัยข้ามศาสตร์และเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง 2) สร้างและพัฒนาเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง ในการเฝ้าระวังสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มแม่และเด็กในพื้นที่เสี่ยงปนเปื้อนสารปรอท และเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากก๊าซกรด 3) สนับสนุนให้มีการนำข้อมูลจาก C-Site Databased มาวิเคราะห์และแปลผล ร่วมกันระหว่างเครือข่ายนักวิจัยข้ามศาสตร์และเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง และร่วมกันจัดทำเนื้อหาสำหรับการสื่อสารความเสี่ยง และ 4) เปิดพื้นที่สนทนาทางนโยบาย (Policy Dialogue Platform) แลกเปลี่ยนแนวทางและมาตรการปกป้องกลุ่มเปราะบางจากมลพิษข้ามแดน ขั้นตอนการดำเนินงานประกอบไปด้วย การสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายนักวิจัยข้ามศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง หน่วยงานส่วนราชการและท้องถิ่น ในการร่วมกันเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน การสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และชุมชนในการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการรับสัมผัสมลพิษจากปรอท พัฒนาแนวทางการปรับตัวของเกษตรกรกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษข้ามแดน การสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication) ต่อกลุ่มเป้าหมายและสาธารณะ และการขับเคลื่อนมาตรการ/นโยบายในการปกป้องกลุ่มเปราะบาง ผลการศึกษาพบว่า 1) การใช้วิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองในการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อมได้รับการยอมรับและถูกนำไปปฏิบัติในระดับชุมชนโดยโรงเรียนเป็นผู้มีบทบาทนำ 2) หญิงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์และเด็กปฐมวัย มีความเสี่ยงทางสุขภาพจากเมทิลเมอคิวรี่ ซึ่งเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานปลาและหอยหลายชนิดจากแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนสารปรอท 3) การเปลี่ยนแปลงของผลผลิตทางการเกษตร อาจเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน ทั้งกลไกการจัดการเชิงพื้นที่ รูปแบบการปฏิบัติที่ถูกต้อง องค์ความรู้ของเกษตรกร ต้นทุนการวางระบบการจัดการที่เหมาะสม แรงงาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดจากมลพิษข้ามแดน ซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องมีความเข้าใจ รอบรู้ และมีศักยภาพในการติดตามและเฝ้าระวัง เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยที่หลากหลายเหล่านี้ได้


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6286

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้