ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 32 คน
การออกแบบระบบและการพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้คัดเลือกนวัตกรรมด้านสุขภาพในระยะเริ่มต้น ก่อนลงทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อให้มีโอกาสบรรจุเข้าในชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพ
นักวิจัย :
ยศ ตีระวัฒนานนท์ , ธีรวัฒน์ วิวัฒน์พาณิชย์ , อาภาพร สุทธิพัฒนสมบุญ , พลวัตร มากี , กติกา อรรฆศิลป์ , ปัณณรัศม์ ศิลปะรัตนวงศ์ , Dabak, Saudamini , Jarawee Sukmanee , อภิวัฒน์ พิริยพล , ภูวดล เชวงกุล , นิธิโรจน์ พสิษฐ์ธนภัค , สิริยาดา กิจบำรุง , ณัฐฐยา วิชยุตม์พสุ , Yi, Wang ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
4 มีนาคม 2568

โครงการออกแบบระบบและการพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้คัดเลือกนวัตกรรมด้านสุขภาพในระยะเริ่มต้นก่อนลงทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อให้มีโอกาสบรรจุเข้าในชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพ ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านการพัฒนากระบวนการประเมินเทคโนโลยีด้านการแพทย์และสุขภาพในระยะเริ่มต้นวิจัยและพัฒนา หรือ Early Health Technology Assessment (early HTA) ซึ่งประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีไปใช้ในวงกว้างในระหว่างการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างข้อมูลและเครื่องมือให้นักพัฒนานวัตกรรมนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการการวิจัยและพัฒนา โดยได้จัดลำดับความสำคัญด้านอุปสงค์ของการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบ และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสุขภาพจากการสังเคราะห์ภาระโรคและภาระค่าใช้จ่ายของระบบหลักประกันสุขภาพ ศึกษาปัจจัยที่มิใช่ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในการเลือกใช้นวัตกรรมด้านการแพทย์ และศึกษาวิธีการกำหนดคุณลักษณะเป้าหมายผลิตภัณฑ์ หรือ Target Product Profile (TPP) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่องค์การอนามัยโลกใช้ในการผลักดันนวัตกรรมด้านสุขภาพให้ตอบสนองความต้องการของระบบสุขภาพในระดับโลกในปัจจุบัน จากนั้นจึงใช้แนวทางที่พัฒนาขึ้นในการประเมินนวัตกรรมด้านยาต้านโรคกลุ่มอาการเมตาบอลิกจากสารสกัดสมุนไพรและนวัตกรรมดิจิทัลประเภทเกมเพื่อการศึกษาเสริมทักษะการป้องกันและจัดการโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขและปศุสัตว์เพื่อเป็นกรณีศึกษา และขยายผลโครงการโดยการเผยแพร่ความรู้ด้านการประเมินความคุ้มค่าในระยะเริ่มต้นก่อนลงทุนวิจัยที่ได้รับจากการดำเนินการวิจัยภายใต้โครงการนี้ เพื่อสร้างความตระหนักด้านการประเมินความคุ้มค่านวัตกรรมในระยะวิจัยและพัฒนา และเพิ่มศักยภาพของนักพัฒนานวัตกรรม ผู้บริหารองค์กรที่สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และผู้ให้ทุนพัฒนานวัตกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6240

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้