งานวิจัยมาใหม่แนะนำ
บทนำ โรคฟันผุในเด็กปฐมวัยยังคงเป็นปัญหาที่ชุกชุมถึงแม้จะมีความพยายามในการหยุดยั้งโรคนี้อย่างต่อเนื่อง การประเมินผลกระทบของโรคฟันผุปฐมวัยที่ผ่านมามีเฉพาะผลต่ออาการและการทำหน้าที่ของฟันเท่านั้น การศึกษานี้จึงเป็นการศึกษาแรกที่ศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็ก ซึ่งเป็นตัวแทนของเด็กก่อนวัยเรียนและครอบครัวโดยใช้วัดคือ “มาตรวัดผลกระทบของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ฉบับภาษาไทย” วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนด้วยมาตรวัดผลกระทบของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ฉบับภาษาไทย วัสดุและวิธีการ ทำการตรวจวัดคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 3 ถึง 5 ปี โดยให้พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็กเป็นผู้ตอบ เสมือนเป็นผู้แทนของเด็ก โดยใช้แบบสอบถามแบบให้ผู้ตอบกรอกด้วยตนเอง ซึ่งพัฒนามาจากฉบับใช้เพื่อสัมภาษณ์ คำถามในแบบสอบถามประกอบด้วย ส่วนของเด็กและส่วนของครอบครัว โดยสอบถามถึงความถี่ที่เคยมีประสบการณ์หรือรับรู้ผลกระทบทางลบที่เกิดกับตัวเด็กและสมาชิกในครอบครัว และนำมาคิดเทียบเป็นคะแนน (สูงสุดได้ถึง 52) และทำการตรวจสุขภาพช่องปากของเด็ก ผลการศึกษาและอภิปรายผล คู่เด็กและพ่อแม่หรือผู้ดูแล จำนวน 1,053 คู่ เข้าร่วมการศึกษา ร้อยละ 52.9 ของพ่อแม่หรือผู้ดูแลรายงานผลกระทบทางลบต่อคุณภาพชีวิตอย่างน้อยหนึ่งข้อ โดยผลกระทบที่เห็นชัดชัดเจนที่สุดคือความเจ็บปวดและไม่สุขสบายของเด็ก การมีฟันผุเป็นรู ผุลึกถึงเนื้อเยื่อในโพรงฟัน มีประสบการณ์การอุดหรือถอนฟันก่อเกิดผลกระทบทางลบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัว สรุป ประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กไทยก่อนวัยเรียนและครอบครัวได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตจากสุขภาพช่องปากไม่ดี การที่มีฟันผุลุกลามและการรักษาทางทันตกรรม
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้