ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 17 คน
การพัฒนาตัวชี้วัดและจัดทำรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพไทย ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 หมวดการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
นักวิจัย :
วรรณา ศรีวิริยานุภาพ , ทิพิชา โปษยานนท์ , วราวุธ เสริมสินสิริ , ภาณุโชติ ทองยัง , ศิริธร อรไชย , พรสิรี จิตรถเวช , สรีรโรจน์ สุกมลสันต์ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
25 มีนาคม 2568

มาตรา 25(5) และ มาตรา 27(3) แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 กำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่และอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับระบบสุขภาพแห่งชาติ และให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจสำรวจ ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งสถานการณ์ของระบบสุขภาพ เพื่อจัดทำเป็นรายงานหรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ การวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดชุดตัวชี้วัดการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ สำหรับนำไปใช้ในการติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพไทย เรื่อง การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยใช้ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 เป็นกรอบอ้างอิง ซึ่งชุดตัวชี้วัดที่ได้รับการคัดเลือกและกำหนดไว้ในการวิจัยนี้ เป็นชุดตัวชี้วัดสำหรับการวัดใน 5 ด้าน ได้แก่ กฎหมายและการบังคับใช้ การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์และบริการ การชดเชยความเสียหาย การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภค และฐานข้อมูลแจ้งเตือนภัย ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทยมีการทบทวนแก้ไขให้มีความทันสมัยและมีการบังคับใช้ แต่ควรติดตามผลกระทบของการแก้ไขกฎหมายต่อผู้บริโภค ยังคงมีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดวางจำหน่ายอยู่ในปริมาณหนึ่ง แสดงถึงความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีระบบเฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ แต่มาตรฐานของแต่ละหน่วยงานยังไม่สอดคล้องกัน ส่วนด้านการชดเชยความเสียหาย ยังขาดกองทุนชดเชยความเสียหายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพโดยตรง ทำให้ผู้เสียหายต้องดำเนินการฟ้องร้องเองตามกฎหมาย จึงจะได้รับสิทธิชดเชยความเสียหายจากการบริโภค ขณะที่องค์กรผู้บริโภคในระดับจังหวัดยังมีจำนวนจำกัด และฐานข้อมูลแจ้งเตือนภัยยังไม่เป็นเชิงรุก จึงควรปรับปรุงการประสานงานระหว่างหน่วยงานเพื่อให้มีการดำเนินงานต่าง ๆ ได้ทันท่วงที นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นการพัฒนาและกำหนดตัวชี้วัดสำหรับการติดตามสถานการณ์ระบบสุขภาพไทยในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคโดยการอ้างอิงธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก จึงต้องมีการพัฒนาเป้าหมายของตัวชี้วัดบางตัว และพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดให้เป็นระบบยิ่งขึ้น รวมถึงควรมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนตัวชี้วัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทหรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6248

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้