ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 19 คน
การประเมินเชิงพัฒนาการเข้าถึงและคุณภาพบริการดูแลระยะกลาง การปฏิรูประบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร
นักวิจัย :
วิชช์ เกษมทรัพย์ , ภูษิต ประคองสาย , ปวินท์ ศรีวิเชียร , ธนพร จันทโรหิต , มธุริน จันทร์ทองศรี ,
ปีพิมพ์ :
2568
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
28 มีนาคม 2568

การดูแลระยะกลาง หรือ intermediate care (IMC) คือการดูแลผู้ป่วยที่ผ่านพ้นระยะเฉียบพลัน (acute phase) และมีอาการคงที่ แต่ยังคงมีความบกพร่องทางร่างกายบางส่วนที่จำกัดการทำกิจวัตรประจำวัน และการมีส่วนร่วมในสังคม เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองที่ต้องการการฟื้นฟูสภาพร่างกายเพิ่มเติมหลังจากออกจากโรงพยาบาล งานวิจัยนี้มุ่งเป้าที่จะพัฒนาบริการ IMC ให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตกรุงเทพมหานครชั้นกลาง (Bangkok Health Zone 5) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปบริการปฐมภูมิของกรุงเทพมหานคร โดยมุ่งส่งเสริมให้มีการให้บริการระยะกลางที่บ้าน (IMC home rehabilitation) เพราะมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวนหนึ่งไม่สามารถเข้ารับบริการทั้งแบบ IMC ward และ IMC OPD ได้ โดยมีงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 450 บาท/ครั้ง เป็นเวลา 20 ครั้ง พร้อมมีนโยบายอุดหนุนค่าเดินทางอีก 200 บาทต่อครั้ง 20 ครั้ง โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้คลินิกกายภาพบำบัดเอกชนเข้าร่วมให้บริการเพื่อแบ่งเบาภาระงานของภาครัฐ การศึกษานี้เก็บข้อมูลการรับบริการ IMC รูปแบบต่าง ๆ ทั้ง IMC ward, IMC OPD, IMC home rehabilitation และผู้ป่วยทำกายภาพเองที่บ้าน (self-home-based rehabilitation) จำนวนกว่าร้อยคน เพื่อผลลัพธ์ทั้งด้านการฟื้นตัวด้วย barthel index (BI) คุณภาพชีวิต ด้วยแบบสอบถาม EQ5D5L และแบบสอบถาม WHO5 เพื่อดูสุขภาวะที่อาจจะเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า พบว่าทุกกลุ่มมีพัฒนาการของ BI, EQ5D5L, และ WHO5 ในเชิงบวกและมีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่ามีการเบิกงบประมาณในด้าน IMC home rehabilitation ไม่มากในเขต Bangkok Hospital Zone 5 อาจจะเป็นข้อจำกัดเพราะค่าใช้จ่ายที่เบิกได้จาก สปสช. ต่ำกว่าราคาตลาดที่มากกว่า 1,000 บาท พอสมควร แต่พบว่ามีคลินิกกายภาพที่มีความสามารถในการควบคุมต้นทุนจากการมีเครือข่ายกับบริการตติยภูมิ 2 โรงพยาบาล ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยเพียงพอที่จะจัดบริการให้กับผู้ป่วย IMC home rehabilitation ด้วยอัตราที่ สปสช.กำหนดให้ และพบว่าผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและสิทธิประกันสังคมไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการทำ IMC home rehabilitation เช่นกัน จึงนำมาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย ดังนี้ 1. เสนอให้เพิ่มบริการ IMC home rehabilitation เข้าไปไว้ในชุดสิทธิประโยชน์สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและสิทธิประกันสังคม 2. ให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบบูรณาการ ส่งผู้ป่วยที่ต้องการใช้บริการ IMC home rehabilitation ระหว่างโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ และทุติยภูมิ รวมถึงเครือข่ายปฐมภูมิ 3. เพิ่มอัตราค่าบริการ IMC home rehabilitation มากกว่า 800 บาทต่อครั้ง 4. ควรมีการจ้างนักกายภาพบำบัดอิสระเพื่อเสริมบริการ IMC home rehabilitation ให้กับผู้ป่วย


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6249

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้