ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 154 คน
การพัฒนาตัวชี้วัดและจัดทำรายงานสถานการณ์ระบบสุขภาพไทย ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เรื่องการเงินการคลังด้านสุขภาพ
นักวิจัย :
สมธนึก โชติช่วงฉัตรชัย , จิณณพัต สุวรรณเกตกะ , วรณัน วิทยาพิภพสกุล , ธนินทร์ พัฒนศิริ , ฉัตรพศ หลายรุ่งเรือง ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
13 มกราคม 2568

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติติดตามและประเมินผลสถานการณ์ระบบสุขภาพ และมีการทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยทุก 5 ปี โดยการเงินการคลังสุขภาพเป็นหนึ่งในสิบสองสาระสำคัญของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานสถานการณ์ด้านการเงินการคลังสุขภาพตามตัวชี้วัดที่เสนอไว้ในเอกสารแนบธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 และทบทวนพัฒนาตัวชี้วัดเหล่านี้เพื่อจัดทำข้อเสนอในการพัฒนาตัวชี้วัดการเงินการคลังสุขภาพต่อไป ใช้รูปแบบการศึกษาแบบผสมวิธี (Mixed Method Research) โดยการทบทวนวรรณกรรม รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากข้อมูลทุติยภูมิด้านการเงินการคลังสุขภาพ และการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์การเงินการคลังสุขภาพของประเทศไทยมีแนวโน้มสามารถลงทุนได้อย่างยั่งยืน แต่รายจ่ายภาครัฐด้านสุขภาพยังคงต่ำกว่าเกณฑ์ที่คาดหวังเมื่อเทียบกับรายจ่ายของรัฐบาลในด้านอื่น ๆ สัดส่วนรายจ่ายสุขภาพนอกภาครัฐสูงกว่าที่คาดหวัง โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะรายจ่ายจากประกันสุขภาพภาคสมัครใจโดยบริษัทเอกชนเพิ่มมากขึ้น รายจ่ายจากครัวเรือนไม่ผ่านเกณฑ์เล็กน้อยแต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่ออุบัติการณ์ครัวเรือนล้มละลายหรือการกลายเป็นครัวเรือนยากจนเพิ่มขึ้น การคลังสุขภาพมีลักษณะก้าวหน้า และกลุ่มคนจนยังได้รับประโยชน์จากการอุดหนุนงบประมาณด้านสุขภาพของภาครัฐมากกว่ากลุ่มคนรวย ยังมีความเหลื่อมล้ำภายในและระหว่างระบบประกันสุขภาพภาครัฐโดยเฉพาะด้านนโยบายการร่วมจ่าย อัตราและวิธีการจ่ายชดเชยให้สถานพยาบาล และรายจ่ายเฉลี่ยต่อหัว มีเพียงแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในระบบการจ้างงานอย่างเป็นทางการเท่านั้นที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพภาคบังคับ ส่วนมาตรการด้านประสิทธิภาพอื่น ๆ มีในทุกระบบประกันสุขภาพ แต่มีการปฏิบัติแตกต่างกัน การทบทวนตัวชี้วัดการเงินการคลังสุขภาพที่ระบุในธรรมนูญฯ พบว่ายังมีข้อจำกัด ซึ่งผู้วิจัยได้มีข้อเสนอให้ปรับตัวชี้วัดเชิงปริมาณให้สอดคล้องกับระบบการรายงานสากล ให้ตั้งเป้าหมายเมื่อมีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุน ปรับปรุงตัวชี้วัดด้านคุณภาพให้มีความชัดเจนมากขึ้น และเสนอตัวชี้วัดใหม่ตามเป้าหมายที่ยังไม่มีการติดตาม ผู้วิจัยเสนอให้มีตัวชี้วัดการเงินการคลังสุขภาพทั้งหมด 21 ตัวชี้วัด


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6223

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้