ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 234 คน
การศึกษาและพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่ออภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นภายใต้บริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
นักวิจัย :
ปรีดา แต้อารักษ์ , วีระศักดิ์ เครือเทพ , วิรุฬ ลิ้มสวาท , พีธากร ศรีบุตรวงษ์ , ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา , ปรานอม โอสาร , ศดานนท์ วัตตธรรม , ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม , เฉลิมพร วรพันธกิจ , ไกรวุฒิ ใจคําปัน , ธวัชชัย เอกสันติ , ดารินทร์ กําแพงเพชร , ศักดิ์ณรงค์ มงคล , โกเมนทร์ ทิวทอง , ภัชร์จิรัสม์ ธัชเมฆรัตน์ , ศุมล ศรีสุขวัฒนา , จารึก ไชยรักษ์ , วีรบูรณ์ วิสารทสกุล , จักรินทร์ สีมา ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
27 มกราคม 2568

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ในกลไกการบริการด้านสุขภาพปฐมภูมิ และมุ่งพัฒนารูปแบบกลไกความร่วมมือระหว่าง อปท. ในการอภิบาลระบบสุขภาพ ภายใต้บริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งทำให้ อบจ. และ อปท. อื่นสามารถร่วมมือกันจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิได้ตรงกับปัญหาของประชาชนในพื้นที่ และเปิดกว้างต่อการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ และกลไกสมัชชาสุขภาพในระดับพื้นที่ได้กว้างขวาง ระเบียบวิธีศึกษาครอบคลุมวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ และดำเนินการผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เพื่อทดลองพัฒนากลไกอภิบาลระบบสุขภาพปฐมภูมิให้กับ รพ.สต. ถ่ายโอนไปสังกัด อบจ. ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและบริบทปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และติดตามประเมินผลการทดลองกลไกอภิบาลสุขภาพที่คณะผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น พื้นที่กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อบจ. จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ อบจ.เชียงใหม่ อบจ.ขอนแก่น อบจ.นครราชสีมา อบจ.ปทุมธานี อบจ.ภูเก็ต และ อบจ.สงขลา ผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ที่เป็นพื้นที่นำร่อง จำนวน 6 จังหวัด จำนวน 11 รพ.สต. 1 สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) คือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อบจ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) รพ.สต. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำชุมชน ผู้รับบริการ อปท. และสมัชชาสุขภาพในแต่ละจังหวัด ผลการวิจัยพบว่า กลไกอภิบาลสุขภาพปฐมภูมิเป็นสิ่งที่สามารถผลักดันให้เกิดขึ้นได้ โดยผ่านการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน และส่งผลดีต่อการยกระดับการให้บริการสุขภาพและระบบสนับสนุนของ รพ.สต./สอน. ถ่ายโอนทั้ง 12 แห่ง อย่างชัดเจน อาทิ การยกระดับคุณภาพบริการคลินิกทันตกรรมนอกเวลา การพัฒนาระบบรับส่งผู้ป่วยกรณีฉุกเฉินและกรณีปกติ การลดความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุในชุมชน การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพรายบุคคล การขยายขอบเขตการดูแลด้านสุขภาพให้ครอบคลุมระดับชุมชน เช่น สถานีสุขภาพชุมชนและศูนย์โฮมฮักรักษ์สุขภาพ และการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิ (CUP Split) ทั้งนี้ รูปแบบและเป้าหมายในการดูแลด้านสุขภาพมีความหลากหลายในพื้นที่ตามความต้องการของประชาชนและปัญหาด้านสุขภาพ สามารถดูแลกลุ่มประชากรเป้าหมายได้ครอบคลุมมากกว่าเดิม การวิจัยครั้งนี้สะท้อนว่า การถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. มีส่วนสำคัญในการเพิ่มคุณภาพบริการสุขภาพปฐมภูมิโดยตรง และรัฐควรสนับสนุนและผลักดันการดำเนินการถ่ายโอนต่อไป และขจัดเงื่อนไขต่าง ๆ ทางกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานของ รพ.สต. และ อบจ. ในการดำเนินภารกิจนี้


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6226

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้