ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 240 คน
ยกระดับศักยภาพการรับมือกับภาวะวิกฤตด้านสุขภาพ ด้วยนวัตกรรมการจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
นักวิจัย :
ปรีดา แต้อารักษ์ , วิรุฬ ลิ้มสวาท , ปรานอม โอสาร , ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล , พรฤดี นิธิรัตน์ , วีรบูรณ์ วิสารทสกุล , จารึก ไชยรักษ์ , นวพร ดำแสงสวัสดิ์ , แสงดาว จันทร์ดา , ปิ่นนเรศ กาศอุดม , จักรินทร์ สีมา , นันทพร เตชะประเสริฐสกุล , นภินทร ศิริไทย , จุฑามาศ ปิยะวงษ์ , ฐปพร เกษกำจร , สุภาภรณ์ ดำรงพันธ์ , ช่อฉัตร สุนทรพะลิน ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
29 มกราคม 2568

ภูมิหลังและเหตุผล วิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมพลังชุมชนให้มีศักยภาพในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพปฐมภูมิที่เชื่อมโยงเป็นระบบสุขภาพแบบบูรณาการ (Integrated Health System) และเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตสุขภาพในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจบริบทเฉพาะของชุมชนเมือง ความต้องการด้านสุขภาพ ทุนทางสังคมและกระบวนการที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชนเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤตด้านสุขภาพ ระเบียบวิธีการศึกษา โครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ใช้ระยะเวลา 18 เดือน (มี.ค. พ.ศ. 2566 - ส.ค. พ.ศ. 2567) ดำเนินการในชุมชนเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด จำนวน 17 ชุมชน โดยร่วมกับหน่วยงานองค์กรที่ทำงานใกล้ชิดกับพื้นที่และมีหน้าที่เป็นหน่วยสนับสนุนชุมชน (โหนดพี่เลี้ยง) จำนวน 10 โหนด ผลการศึกษา ภายหลังวิกฤตโควิด-19 ชุมชนมีความกระตือรือร้นในการจัดการกับปัญหาความต้องการด้านสุขภาพที่ชุมชนจัดเป็น “วิกฤตสุขภาพ” ที่เป็นปัญหาสุขภาพที่หลากหลายที่ส่งผลต่อสุขภาวะของคนในชุมชน โดยทุนทางสังคม 3 กลุ่ม ที่ชุมชนใช้ในการพัฒนานวัตกรรมระบบบริการปฐมภูมิโดยชุมชน คือ ทุนทางสังคมภายในของชุมชน ได้แก่ ศักยภาพผู้นำและความศรัทธา สำนึกรับผิดชอบร่วมต่อปัญหาของคนในชุมชน และทุนภายในของชุมชน, ทุนทางสังคมภายนอกชุมชน ได้แก่ เครือข่ายภายนอก แหล่งประโยชน์ภายนอกชุมชน, และบริบทที่เป็นปัจจัยส่งเสริม ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของคนในชุมชน และวัฒนธรรมความเชื่อพื้นฐาน ทั้งนี้ มีเงื่อนไขที่เป็นปัจจัยสำคัญของศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพของชุมชน คือ ความเข้มแข็งชุมชน โหนดพี่เลี้ยง และ ความร่วมมือและเชื่อมโยงกับหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ โดยที่โหนดพี่เลี้ยงมีบทบาทสำคัญ 3 ประการ คือ การพิทักษ์สิทธิ (advocacy) การเอื้ออำนวย (facilitation) และการสนับสนุนในทางเทคนิค (technical assistant) วิจารณ์ ในการยกระดับศักยภาพของชุมชนในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการเพื่อรับมือกับวิกฤตสุขภาพในปัจจุบันและอนาคต จำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบนิเวศใหม่ ที่มีจุดเน้นที่เป็นแกนกลางคือ การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชนเพื่อชุมชน โดยกลไกความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับหน่วยพี่เลี้ยงชุมชน หน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีระบบสนับสนุน 5 ระบบ ที่เกิดขึ้นจากการหนุนเสริมของหน่วยงานองค์กรทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ ได้แก่ (1) ระบบข้อมูลและสารสนเทศสนับสนุนการปฏิบัติการร่วมกัน (2) ระบบนโยบายสาธารณะเพื่อการรับมือวิกฤตสุขภาพแบบมีส่วนร่วม (3) ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่สนับสนุนการร่วมจัดการโดยชุมชน (4) ระบบการพัฒนาศักยภาพชุมชนและพี่เลี้ยงที่สอดคล้องกับความต้องการ และ (5) ระบบสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของแต่ละชุมชน


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6227

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้