งานวิจัยมาใหม่แนะนำ
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศจาก PM2.5 ที่เกินมาตรฐานทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตสุขภาพที่ 8 (จังหวัดนครพนม และจังหวัดหนองคาย) ที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบเฝ้าระวัง PM2.5 ในจังหวัดนครพนมและจังหวัดหนองคาย ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อพัฒนานโยบายและแนวทางการดำเนินงาน และเป็นกรณีศึกษาสำหรับเขตสุขภาพที่ 8 การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้อง และทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 ใน 2 จังหวัด ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า ระบบเฝ้าระวังมีการยอมรับสูง เนื่องจากความกังวลของสาธารณชนเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ ระบบมีความง่ายและยืดหยุ่นที่เหมาะสม แต่เกณฑ์การวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับ PM2.5 ไม่ชัดเจน ส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์และความถูกต้องของข้อมูล ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า จังหวัดนครพนมจากเวชระเบียน 485 ฉบับ ที่เข้าเกณฑ์ ICD-10 มี 442 ฉบับตรงตามนิยามการรายงาน และ 355 ฉบับ ตรงตามนิยามโรค ระบบมีความครอบคลุมสูง (90.70%) แต่ค่าพยากรณ์บวกปานกลาง (76.30%) และไม่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างระดับ PM2.5 กับจำนวนผู้ป่วย ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยอื่นที่มีผลต่อโรคระบบทางเดินหายใจ และจังหวัดหนองคายจากการทบทวนเวชระเบียนจำนวน 345 ฉบับ ตรงตามนิยามจำนวน 181 เวชระเบียน มีค่าความไว ร้อยละ 100 ค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 53.08 ข้อมูลอายุ เพศ สัญชาติ มีความครบถ้วนของข้อมูล ร้อยละ 100 แต่ข้อมูลรหัสโรค ICD-10 มีความครบถ้วนของข้อมูลร้อยละ 98.84 ข้อมูลอายุ เพศ สัญชาติ และข้อมูลรหัสโรค (ICD-10) มีความถูกต้องของข้อมูลร้อยละ 97.97, 92.46, 98.26 และ 94.78 ตามลำดับ และข้อมูลอายุ เพศ และวันที่เข้ารับบริการมีความเป็นตัวแทน สรุปได้ว่า ระบบเฝ้าระวัง PM2.5 ใน 2 จังหวัด มีประสิทธิภาพในระดับที่น่าพอใจ ด้วยความครอบคลุมสูงและความถูกต้องของข้อมูล อย่างไรก็ตาม ควรปรับปรุงเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเกี่ยวข้องกับ PM2.5 การปรับปรุงเหล่านี้สามารถเพิ่มศักยภาพของระบบและนำไปสู่ผลลัพธ์ด้านสาธารณสุขที่ดีขึ้น
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้