ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 44 คน
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการตรวจคัดกรองการได้ยินเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่แรกเริ่มในทารกแรกเกิด
นักวิจัย :
พนิดา ธนาวิรัตนานิจ , ขวัญชนก ยิ้มแต้ , นิชธิมา ฉายะโอภาส , พรเทพ เกษมศิริ , ภาธร ภิรมย์ไชย , วันดี ไข่มุกด์ , รมิดา ดินดำรงกุล , สุวิชา แก้วศิริ , ศณัฐธร เชาวน์ศิลป์ , วิชัย ฉัตรทินวัฒน์ , ชินวัตร อิศราดิสัยกุล , นันณะภา อาจหาญ , อรพิชญ์ อินทรัตน์ , วลีรัตน์ ทาทะวงค์ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
3 ธันวาคม 2567

ประเทศไทยได้มีนโยบายในการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดทุกราย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เพื่อมุ่งหวังในการค้นหาเด็กที่มีความพิการทางการได้ยินตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งปัญหาของการสูญเสียการได้ยินจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางภาษาและการพูด พัฒนาการทางด้านอารมณ์และการเรียนรู้ หากเด็กได้รับการตรวจพบความผิดปกติได้โดยเร็วจะทำให้เพิ่มโอกาสในการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน ทำให้เด็กมีโอกาสที่จะพัฒนาภาษาและการพูดได้ใกล้เคียงหรือเทียบเท่าเด็กปกติ แต่เนื่องจากในปัจจุบันการคัดกรองการได้ยินยังไม่สามารถดำเนินการได้ในโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง จึงจำเป็นต้องมีการส่งต่อเด็กไปรับการตรวจคัดกรองยังโรงพยาบาลใกล้เคียงหรือโรงพยาบาลในเครือข่าย หรือหากโรงพยาบาลนั้น ๆ มีการตรวจคัดกรองการได้ยินได้ แต่หากพบว่าผลตรวจคัดกรองการได้ยินไม่ผ่าน จะต้องมีการส่งต่อเพื่อไปรับการตรวจวินิจฉัยยังโรงพยาบาลแม่ข่ายในเขตสุขภาพนั้น ๆ โดยการส่งต่อไปรับการตรวจยังโรงพยาบาลปลายทาง พบว่าเด็กเหล่านั้นอาจไม่สามารถเข้าถึงการบริการในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของการตรวจวินิจฉัย ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดระบบการนัดหมายที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้ผู้ปกครองต้องพาเด็กมาหลายครั้งถึงจะได้รับการตรวจ การขาดการเชื่อมโยงของข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลในเครือข่ายทั้งที่อยู่ในสังกัดเดียวกัน หรือนอกสังกัด ทำให้เด็กที่มีเข้าสู่การตรวจวินิจฉัยได้ล่าช้า และเป็นภาระของผู้ปกครองที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลหลายครั้ง จึงไม่สามารถนำไปสู่การติดตามดัชนีคุณภาพของระบบตรวจคัดกรองการได้ยินที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดแบบครอบคลุมที่นำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้มีการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลในหลาย ๆ ด้าน ให้สอดคล้องกับการใช้งาน โดยระบบสามารถเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิและหน่วยบริการทุติยภูมิหรือตติยภูมิที่มีความพร้อมในการตรวจวินิจฉัยและรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมถึงระบบการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อการตรวจวินิจฉัยของโรงพยาบาลในเครือข่าย น่าจะช่วยเพิ่มจำนวนเด็กที่เข้าถึงบริการ ตรวจวินิจฉัย รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่แรกเริ่ม โดยระบบที่พัฒนาและโดดเด่นคือ ระบบการส่งต่อผู้ป่วย และการนัดหมายเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยยังโรงพยาบาลแม่ข่ายทั้งในสังกัดและนอกสังกัด ระบบการส่งต่อจะมีการแจ้งและติดตามสถานะ ผู้ป่วยใกล้วันนัดหมาย และเลยกำหนดนัดหมาย โดยสามารถตรวจสอบได้ทั้งจากโรงพยาบาลต้นทางที่ส่ง และโรงพยาบาลปลายทางที่รับ หากผู้ป่วยไม่มาตามนัดหมาย โรงพยาบาลปลายทางสามารถติดต่อไปยังโรงพยาบาลต้นทางหรือที่ส่ง เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่เดียวกับผู้ป่วยช่วยติดตามผู้ป่วยได้ ในขณะที่ระบบการนัดหมายการตรวจ มีการจัดการตารางนัดหมายเพื่อส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลเครือข่าย โดยสามารถมองเห็นจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่สามารถนัดได้ในวันและเวลาที่โรงพยาบาลเครือข่ายสามารถให้บริการได้อย่างเป็นปัจจุบัน และกรณีมีการเปลี่ยนแปลงตารางนัดหมายที่โรงพยาบาลปลายทาง สามารถแจ้งกลับโรงพยาบาลต้นทาง เพื่อติดต่อประสานงานกับผู้ป่วยล่วงหน้า ทำให้ลดภาระของผู้ป่วยและไม่เสียเวลาในการเดินทางเพื่อมารับบริการ จากระบบฐานข้อมูลที่ได้ออกแบบและพัฒนาปรับปรุงทำให้ทารกแรกเกิดในโครงการนี้ ได้รับการตรวจวินิจฉัยเฉลี่ยอายุ 4.71 เดือน จากจำนวนเด็กทารกแรกเกิดที่ได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินทั้งสิ้น 22,692 ราย และจากจำนวนเด็กที่พบความผิดปกติชนิดการสูญเสียการได้ยินแบบประสาทหูเสีย (bilateral sensorineural hearing loss) ที่ไม่สามารถรักษาให้การได้ยินดีขึ้นเป็นปกติได้ จำนวน 9 ราย ได้รับการใส่เครื่องช่วยฟังและเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินแล้ว จำนวน 2 ราย 2 รายอยู่ระหว่างการดำเนินการเปลี่ยนสิทธิเป็นบัตรทองผู้พิการ ท 74 ที่เหลือ 5 รายอยู่ระหว่างคิวนัดประเมินเครื่องช่วยฟัง ดังนั้น หากมีการนำระบบฐานข้อมูลการตรวจคัดกรองการได้ยิน ไปใช้ในการบันทึกผลการตรวจคัดกรองการได้ยินในทุกเขตสุขภาพ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดแบบครอบคลุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันยังไม่มีการบันทึกข้อมูลผลการตรวจคัดกรองที่มีระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพที่ดี มีเพียงการบันทึกใน google form หรือ google sheet ที่ไม่มีรายละเอียดของการตรวจนอกจากจำนวนเด็กที่ได้รับการตรวจคัดกรองและจำนวนเด็กที่ตรวจคัดกรองได้ผลไม่ผ่านเท่านั้น


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6202

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้