ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 47 คน
การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่า (Reference Case) สำหรับการแพทย์เฉพาะบุคคล หรือการแพทย์แม่นยํา เพื่อพิจารณาในชุดสิทธิประโยชน์ของระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย ส่วนที่ 1: การพัฒนากรอบแนวคิด PICCOTEAM Reference Case ในการประเมินความคุ้มค่าสำหรับการแพทย์เฉพาะบุคคลหรือการแพทย์แม่นยำ
นักวิจัย :
ยศ ตีระวัฒนานนท์ , Dabak, Saudamini , ธมลวรรณ ดุลสัมพันธ์ , ปานทิพย์ จันทมา , Yi, Wang ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
20 ธันวาคม 2567

ความเป็นมา: การประเมินความคุ้มค่า (economic evaluations: EEs) ของการแพทย์แม่นยำ (precision medicine: PM) ในปัจจุบันมักเป็นไปตามแนวทางมาตรฐาน (Reference Case: RC) ของการประเมินความคุ้มค่า ซึ่งมิได้พิจารณาถึงแนวคิดของการแพทย์แม่นยำที่มีลักษณะเฉพาะ การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางมาตรฐานการประเมินความคุ้มค่าสำหรับการแพทย์แม่นยำ เพื่อให้การประเมินความคุ้มค่าและการรายงานเกี่ยวกับการประเมินความคุ้มค่าของการแพทย์แม่นยำเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ระเบียบวิธีวิจัย: มีการจัดตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วยนักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขแกนหลักจำนวน 5 ราย ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แม่นยำ จำนวน 22 ราย และเจ้าหน้าที่วิจัยจากประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย และประเทศออสเตรเลีย ที่ประเมินความคุ้มค่าของการแพทย์แม่นยำและการใช้การแพทย์แม่นยำทางคลินิกมาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาแนวทางมาตรฐานการประเมินความคุ้มค่ามีทั้งหมด 4 ระยะ ได้แก่ 1) การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำหนดขอบเขตและโครงสร้างแนวทางมาตรฐานการประเมินความคุ้มค่า โดยแบ่งออกเป็น 9 ด้าน กล่าวคือ Population (ประชากร) Intervention (มาตรการ) Comparator (ตัวเปรียบเทียบ) Cost (ต้นทุน) Outcome (ผลลัพธ์ด้านสุขภาพ) Time (เวลา) Equity and ethics (ความเป็นธรรมและจริยธรรม) Adaptability (การปรับใช้ข้อมูล) Modelling (การสร้างแบบจำลอง) (ต่อไปเรียกว่า “กรอบแนวคิด PICCOTEAM” ในการศึกษาฉบับนี้) 2) การทบทวนงานวิจัยที่ครบทุกแง่มุมเกี่ยวกับแนวทางและความท้าทายในการประเมินความคุ้มค่าของการแพทย์แม่นยำ 3) การขอฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญและการร่างข้อเสนอแนะ 4) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับแก้แนวทางมาตรฐานในการประเมินความคุ้มค่าตามความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในแง่ของความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ผลลัพธ์: หลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติจำแนกข้อเสนอแนะออกเป็นข้อเสนอแนะสำหรับการแพทย์แม่นยำด้านการคัดกรอง การวินิจฉัย เภสัชพันธุศาสตร์ การเข้าสู่ตลาด และการประเมินความคุ้มค่าในระยะพัฒนานวัตกรรมแนวทางมาตรฐาน PICCOTEAM ประกอบด้วยข้อเสนอแนะ 36 ข้อ ในการประเมินความคุ้มค่าแบบดั้งเดิมเพื่อประกอบการตัดสินใจให้เบิกจ่ายมาตรการการแพทย์แม่นยำ แนวทางมาตรฐานนี้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญ กระบวนการศึกษาแบบวนซ้ำ (iterative study process) ผลลัพธ์เฉพาะโรค การวิเคราะห์ความไม่แน่นอนในการตัดสินใจ และการวิเคราะห์ความเป็นธรรม นอกจากนี้ ยังมีการให้ข้อเสนอแนะจำนวน 23 ข้อ สำหรับการประเมินความคุ้มค่าในระยะพัฒนานวัตกรรม เพื่อผลักดันการรับรู้เกี่ยวกับการแพทย์แม่นยำและคุณค่าที่นำเสนอ พร้อมกับบรรเทาปัญหาด้านความไม่แน่นอน ความเป็นธรรม และจริยธรรม สรุปผลการศึกษา: แนวทางมาตรฐาน PICCOTEAM กำหนดกระบวนการที่เป็นมาตรฐานในการดำเนินการและการรายงานการประเมินความคุ้มค่าของการแพทย์แม่นยำที่มีความหลากหลาย ข้อมูลนี้จะเป็นแนวทางให้กับหน่วยงานสาธารณสุข ผู้วิจัย แพทย์ บรรณาธิการ และผู้ทบทวนบทความวิชาการ (reviewer) ทั้งนี้ ควรให้มีการทดสอบนำร่องและการปรับปรุงข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แนวทางมาตรฐานนี้เหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6209

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้