ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 43 คน
การพัฒนาแนวทางการประเมินความคุ้มค่า (Reference Case) สำหรับการแพทย์เฉพาะบุคคล หรือการแพทย์แม่นยํา เพื่อพิจารณาในชุดสิทธิประโยชน์ของระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย ส่วนที่ 2: ความคุ้มทุนของการทดสอบ Cascade Testing สำหรับโรคคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรมในประเทศไทย: การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบของวิธีการการจัดลำดับ Genome Sequencing ในช่วงการพัฒนาเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน
นักวิจัย :
ยศ ตีระวัฒนานนท์ , Dabak, Saudamini , ธมลวรรณ ดุลสัมพันธ์ , ปานทิพย์ จันทมา , Yi, Wang , Zhang, Yue , Vorasuk Shotelersuk , Chanatjit Cheawsamoot , Parnnaphat Luksameesate , Chanthawat Patikorn , Nattanichcha Kulthanachairojana , Sutinee Soopairin , Thanapol Kuharatanachai , Pawarut Wongmanovisut ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
20 ธันวาคม 2567

วัตถุประสงค์: Whole exome sequencing (WES) เป็นวิธีวิเคราะห์พื้นฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคคอเลสเตอรอลสูงทางพันธุกรรม (familial hypercholesterolemia, FH) และในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิค long-read sequencing (LRS) ซึ่งทำให้สามารถระบุลักษณะทางพันธุกรรมของโรคคอเลสเตอรอลสูงที่เกิดจากกรรมพันธ์ุได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินความคุ้มค่าสำหรับการแพทย์เฉพาะบุคคลหรือการแพทย์แม่นยำและประเมินความคุ้มค่าของการคัดกรองโรค FH ด้วยวิธี WES ในบริบทของระบบสุขภาพไทย ด้วยการประเมินความคุ้มค่าแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการประเมินความคุ้มค่าแบบระยะเริ่มต้น เพื่อประเมินต้นทุนประสิทธิผลของการตรวจคัดกรองโรค FH ด้วยวิธี LRS ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษานี้ได้รวมผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ได้แก่ นักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และนักพัฒนา เพื่อร่วมกันพัฒนาแบบจำลองแผนภูมิต้นไม้ร่วมกับแบบจำลองมาร์คอฟในการประเมินต้นทุนประสิทธิผล ที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติทางเวชคลินิกของไทย โดยมีตัวเปรียบเทียบ คือ การดูแลรักษามาตรฐาน ตัวแปรในการวิเคราะห์ข้อมูลรวบรวมจากทะเบียนผู้ป่วยด้วยโรค FH ของประเทศไทย โรงพยาบาลในพื้นที่ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยมีการกำหนดความเต็มใจที่จะจ่ายของประเทศไทยคือ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ และมีการวิเคราะห์ความไว นอกจากนี้มีการประเมินต้นทุนประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์เป้าหมาย เพื่อวิเคราะห์ช่วงต้นทุนของ LRS ที่เป้าหมายขั้นต่ำที่ยอมรับได้ เป้าหมายที่ยอมรับได้ และเป้าหมายในอุดมคติ รวมถึงมีการประเมินความไม่แน่นอน โดยการวิเคราะห์ความไวแบบอาศัยความน่าจะเป็นสำหรับความแม่นยำของ LRS และวิเคราะห์สถานการณ์สำหรับการนำไปใช้ ผลลัพธ์: ค่าต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่มของการคัดกรองด้วยวิธี WES เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษามาตรฐานเท่ากับ 89,619 บาท ต่อปีสุขภาวะ โดยมีโอกาสเกิดความคุ้มค่าของ WES คิดเป็นร้อยละ 77.05 ภายใต้ค่าความเต็มใจที่จะจ่ายของประเทศไทย การวิเคราะห์ความไวพบว่าการเปลี่ยนแปลงอัตราการติดต่อญาติและการยอมรับในหมู่ญาติที่จะเข้ารับการคัดกรองโรค FH เป็นตัวแปรที่ส่งผลอย่างมากต่อความคุ้มค่าของการตรวจคัดกรองพันธุกรรมตามลำดับญาติของโรค FH ด้วยวิธี WES ทั้งนี้ แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์แบบระยะเริ่มต้นชี้ให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองพันธุกรรมตามลำดับญาติของโรค FH ด้วยวิธี LRS มีความคุ้มค่า ถ้ามีราคาต่ำกว่า 173,134 บาท และเท่ากับ 46,197 บาท เมื่อเทียบกับการดูแลรักษามาตรฐาน และ WES ตามลำดับ และเมื่อต้นทุนการคัดกรองด้วยวิธี LRS เท่ากับ 39,491 บาท จะเป็นผลผลิตที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นเป้าหมายในอุดมคติ สรุปผลการศึกษา: การตรวจคัดกรองโรค FH ด้วยวิธีการตรวจคัดกรองพันธุกรรมตามลำดับญาติมีความคุ้มค่าในประเทศไทย โดยการใช้ WES มีประโยชน์มากกว่าการดูแลรักษามาตรฐาน อยู่ในช่วง 39,491 ถึง 173,134 บาท และสามารถยอมรับค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเมื่อมีความแม่นยำและมีการนำไปใช้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ PM-RC ยังระบุถึงแง่มุมที่สำคัญ เช่น การกำหนดประชากรเป้าหมาย การประเมินตัวเลือกที่เปรียบเทียบทั้งหมดรวมถึงความแม่นยำและการนำไปใช้ การพิจารณาการใช้อรรถประโยชน์ที่ลดลง และความครอบคลุมต้นทุนของการตรวจคัดกรองทั้งหมด ได้แก่ ต้นทุนในการสรรหาผู้ป่วย ต้นทุนการเก็บตัวอย่างและการทดสอบ ต้นทุนในการตีความและอ่านผลการทดสอบ และต้นทุนการตรวจลำดับยีนและการตรวจหาการกลายพันธุ์ การประเมินแหล่งความรู้ผ่านการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญช่วยเสริมให้ได้ผลการศึกษามีความเที่ยงตรงมากขึ้น และสิ่งสำคัญที่ได้จากการศึกษานี้คือการประเมินเศรษฐศาสตร์ทางสุขภาพสำหรับวิธีการทดสอบ FH cascade ทั้งแบบมาตรฐาน และในระยะเริ่มต้น


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6210

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้