ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 649 คน
การตรวจติดตามรอยโรคมะเร็งเต้านมแบบไม่รุกรานด้วยการตรวจดีเอ็นเอมะเร็งในเลือดแบบแม่นยํา
นักวิจัย :
พิริยะ วงศ์คงคาเทพ , วีรยุทธ ประพันธ์พจน์ , สิกฤษฏิ์ เด่นอริยะกูล , สุทิมา เหลืองดิลก , ปณต สายนํ้าทิพย์ , ภูมิ สุขธิติพัฒน์ , มานพ พิทักษ์ภากร , ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
25 ธันวาคม 2567

โรคมะเร็งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศ มะเร็งเป็นโรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ที่มีความหลากหลายสูง และในผู้ป่วยแต่ละรายมีการกลายพันธุ์ที่ไม่เหมือนกัน ปัจจุบันการตรวจติดตามด้วยภาพถ่ายทางรังสีและการตรวจหาค่ามะเร็ง เช่น CEA ยังมีความไวและความจําเพาะที่ไม่สูงมากพอ โดยเฉพาะการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น และการตรวจหารอยโรคของมะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่หลังจากกระบวนการรักษา (Minimal residual disease หรือ MRD) งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทดสอบตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอของมะเร็งในเลือด หรือ circulating tumor DNA (ctDNA) ซึ่งเป็นแนวทางการตรวจติดตามด้วย liquid biopsy เป็นทางเลือกที่เป็นแบบไม่รุกราน ในการตรวจ ctDNA ใช้วิธี targeted sequencing ด้วย panel ในงานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการเทียบ panel สองรูปแบบคือ panel เฉพาะบุคคล (personalized panel) ที่สร้างขึ้นจากข้อมูลการกลายพันธุ์แบบโซมาติกที่ตรวจพบจากชิ้นเนื้อมะเร็งของอาสาสมัครผู้ป่วยมะเร็งในรูปแบบ FFPE และเทียบกับ shared panel ซึ่งสร้างจากข้อมูลการกลายพันธุ์ที่ตรวจพบในคนไข้มะเร็งเต้านมในประเทศไทย ร่วมกับการใช้ข้อมูลการกลายพันธุ์จากฐานข้อมูล TCGA เพื่อออกแบบให้ครอบคลุมการกลายพันธุ์แบบโซมาติกที่พบได้บ่อยในคนไข้มะเร็งเต้านม ในการวิจัยชิ้นนี้ได้มีการคัดเลือกอาสาสมัครผู้ป่วยมะเร็ง จำนวน 16 ราย จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และวางแผนติดตามก่อนและหลังผ่าตัดจนครบ 1 ปี ทั้งหมด 7 ช่วงเวลา จากผลการทดสอบพบว่า panel ทั้งสองชนิดสามารถใช้ตรวจติดตามได้ แต่การใช้ panel เฉพาะบุคคลจะมีความจําเพาะที่สูงกว่า และมี background mutation signal ที่น้อยกว่า shared panel และพบว่าการใช้ target sequencing จาก ctDNA มีผลที่สอดคล้องกับการติดตามด้วยภาพถ่ายทางรังสี นอกจากนี้มีอาสาสมัคร 1 ราย ที่การใช้ ctDNA สามารถบ่งชี้การกลับมาเป็นซํ้าได้ล่วงหน้าก่อนข้อมูลจากภาพถ่ายทางรังสี ดังนั้น การตรวจวิเคราะห์ ctDNA ด้วย target sequencing จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการตรวจติดตามหา MRD ได้อย่างแม่นยําในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เพื่อให้การประเมินการกลับมาเป็นซํ้าและวางแผนการรักษาโรคมะเร็งเต้านมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6211

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้