ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 498 คน
ฐานข้อมูลจีโนมของเชื้อก่อโรคประจำถิ่น Pythium Insidiosum เพื่อการศึกษาความหลากหลายทางพันธุศาสตร์และโปรตีนที่ไม่ทราบหน้าที่ สำหรับการค้นหากระบวนการใหม่ของเซลล์ การก่อโรค และการวินิจฉัยและการรักษาการติดเชื้อ
นักวิจัย :
ธีรพงษ์ กระแจะจันทร์ , วีรยุทธ กิตติโชติรัตน์ , ปรีชา ปทุมเจริญผล , สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง , ธิดารัตน์ รุจิรวรรธน์ , ภัทรนา แซ่จิว , ดวงดาว วิชาดากุล , ชมพูเนกข์ ยุรญาติ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
26 พฤศจิกายน 2567

เชื้อ P. insidiosum เป็นเชื้อในกลุ่ม oomycetes ที่สามารถก่อโรค pythiosis ในคนและสัตว์ มีรายงานการพบโรคนี้มากขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีโรค pythiosis ชุก การวินิจฉัยทำได้ยาก การรักษายังเป็นปัญหาเนื่องจากไม่มียาชนิดใดใช้ได้ผล ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการผ่าตัดนำอวัยวะที่ติดเชื้อออก มีจำนวนไม่น้อยที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อ ทั้งนี้การเข้าใจชีววิทยา ความหลากหลาย วิวัฒนาการ และพยาธิกำเนิดของเชื้อ P. insidiosum จะนำไปสู่การค้นพบวิธีการที่ใช้ตรวจหาและควบคุมการติดเชื้อชนิดนี้ได้ จีโนมเป็นที่รวบรวมข้อมูลยีนและโปรตีนที่ใช้สร้างเป็นสิ่งมีชีวิต และทำให้สิ่งมีชีวิตหนึ่งต่างจากชนิดอื่น การหาลำดับเบสจีโนมของเชื้อโรคและการเปรียบเทียบข้อมูลจีโนมดังกล่าวกับสายพันธุ์อื่นหรือเชื้ออื่นที่ใกล้เคียงกันเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ค้นหาความแตกต่างทางพันธุกรรมที่นำไปสู่ลักษณะทางชีวภาพที่แตกต่างกันไป เช่น ความสามารถในการก่อโรคและการดื้อยา การศึกษานี้ คณะผู้วิจัยต้องการใช้เทคโนโลยีแบบ MGIseq2000 หาลำดับเบสจีโนมของเชื้อ P. insidiosum จำนวน 27 สายพันธุ์ เมื่อรวมกับข้อมูล genome ที่มีอยู่เดิม จึงได้เป็น genome database ของเชื้อ P. insidiosum จำนวน 75 สายพันธุ์ที่แยกได้จากคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นฐานข้อมูลของเชื้อชนิดนี้ที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในโลก ที่สามารถใช้ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของเชื้อ P. insidiosum ได้อย่างดี การศึกษานี้ได้ใช้ online software คือ Gene Table มาเก็บข้อมูล gene contents ของทุก genomes ให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการค้นหา วิเคราะห์ และแสดงผล นอกจากนี้ Gene Table ยังสามารถใช้ศึกษา phylogenomic และวิวัฒนาการของเชื้อชนิดนี้ได้ และใช้วิเคราะห์ core gene, species-specific genes, และ hypothetical protein-encoding genes ของเชื้อ P. insidiosum ซึ่งกลุ่มหลังถือเป็นยีนที่น่าสนใจศึกษาหาความเชื่อมโยงกับการเกิดโรค รวมถึงน่าจะเป็น potential target ของการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยหรือวัคซีนได้ในอนาคต โดยสรุป โครงการวิจัยนี้สร้าง genome sequences จากเชื้อ P. insidiosum 27 สายพันธุ์ เมื่อรวมกับข้อมูล genomes ที่มี เกิดเป็น genome database ของเชื้อ P. insidiosum ที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุด โดยข้อมูล genomes ถูกเก็บโดยใช้ Gene Table software เพื่อช่วยวิเคราะห์เปรียบเทียบ gene contents ของเชื้อ P. insidiosum และ related species จำนวนรวมกัน 101 genomes ซึ่งช่วยให้สามารถเรียนรู้และเข้าใจชีววิทยา พยาธิกำเนิด และวิวัฒนาการของเชื้อมากขึ้นได้ นอกจากนี้ ผู้วิจัยค้นพบ share core hypothetical protein-encoding genes จำนวนไม่น้อย ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมและอาจนำไปสู่การพัฒนาการวินิจฉัยและรักษาได้ โครงการนี้ช่วยให้เกิดผู้เชี่ยวชาญและเกิดกลุ่มของนักวิจัยจากหลายสถาบันในประเทศไทยเพื่อวิจัยเชื้อ P. insidiosum และผลการวิจัยจะสามารถสรุปส่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติได้อย่างน้อย 1 เรื่อง


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6198

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้