ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 468 คน
การประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565-2566 (Infographic)
นักวิจัย :
พงศธร พอกเพิ่มดี , กฤติยา สุขพัฒนากุล , โศรดากรณ์ พิมลา , วันวิสา เพ็ญสุริยะ , นาฎอนงค์ เจริญสันติสุข , ปุณณิภา คงสืบ , ศศิภา จันทรา , ณัฐนรี ขิงจัตุรัส , อิสริยาภรณ์ คันธา , อรจิรา หนูทองอินทร์ , ณิชาธร กาญจนโยธิน , ชุติมา อรรคลีพันธุ์ , อรอนงค์ เภติโสร ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
1 พฤศจิกายน 2567

การประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพของประเทศไทยเทียบกับต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก ตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 (Sustainable Development Agenda 2030) ถือเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเป้าหมายในการยกระดับสุขภาพของประชาชนไทย รวมถึงพัฒนาต่อยอดไปสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเป้าหมายในการให้เป็นประเทศที่มีระบบสุขภาพดี 1 ใน 3 ของเอเชีย เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีทิศทางและได้ผล จำเป็นต้องรู้ว่าการดำเนินการด้านสุขภาพหรือระบบสุขภาพของประเทศมีสมรรถนะเพียงใดเมื่อเทียบกับนานาประเทศ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จึงได้มอบหมายให้นักวิจัยดำเนินการประเมินสมรรถนะระบบสุขภาพของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานะสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยง การเข้าถึงคุณภาพของการบริการ ทรัพยากรสุขภาพ และการเงินการคลังด้านสุขภาพ ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์แนวโน้มสถานะสุขภาพที่สำคัญ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพระดับบุคคล การเข้าถึงคุณภาพและผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพที่มีความเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพของประชาชนทั้งระบบ มาวิเคราะห์สังเคราะห์ และเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านสุขภาพของประเทศไทยกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพของกลุ่มประเทศ OECD และประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน ใน 5 มิติ ประกอบด้วย (1) สถานะสุขภาพ (2) ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ (3) การเข้าถึงบริการ (4) คุณภาพการดูแล และ (5) ทรัพยากรด้านสุขภาพ และนำผลลัพธ์สุขภาพที่ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและสามารถแข่งขันตามแนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) และองค์การอนามัยโลก มาวิเคราะห์และคัดเลือกตัวที่เหมาะสมและมีความสำคัญที่สุด (Priority setting) ทั้งในด้านผลกระทบ ความเร่งด่วน ความพร้อมของข้อมูล และความเป็นได้ในทางปฏิบัติ เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาสมรรถนะของระบบสุขภาพของประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืนและมีมาตรฐานในระดับสากลต่อไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาสมรรถนะของระบบสุขภาพของประเทศไทยที่ยั่งยืนและมีมาตรฐานในระดับสากลต่อไป


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6187

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้