ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 527 คน
การวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญของพืชกัญชาในอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องปรุงและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของกัญชา/กัญชง: แนวทางเชิงนโยบายระบบสุขภาพ ลดการเข้าถึงในกลุ่มเปราะบางที่เป็นเด็กและเยาวชน
นักวิจัย :
จิตรลดา อารีย์สันติชัย , อุษณีย์ พึ่งปาน , ศิรเศรษฐ เนตรงาม , พรภิรมย์ สุวรรณเลิศ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
1 พฤศจิกายน 2567

ที่มา: กัญชา (Cannabis sativa L.) เป็นพืชที่ได้รับความสนใจในวงการแพทย์และสาธารณสุข เนื่องจากมีสารสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในทางการแพทย์ได้ เช่น กระตุ้นการอยากอาหาร ลดความเครียด และลดอาการชัก อย่างไรก็ตาม ความนิยมในการผสมกัญชาในอาหารและเครื่องดื่มส่งผลให้เกิดความกังวลในด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อาจได้รับสาร THC และสารแคนนาบินอยด์เกินกว่าที่กำหนด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาร่างกายและจิตใจ วัตถุประสงค์: 1. วิเคราะห์ปริมาณสารแคนนาบินอยด์ในผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องปรุงที่มีส่วนผสมของกัญชา/กัญชง 2. ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบทางสุขภาพต่อกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน 3. ศึกษากระบวนการผลิตและปริมาณการผสมกัญชาในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ผลิต 4. เสนอแนวทางป้องกันการเข้าถึงผลิตภัณฑ์กัญชาในกลุ่มเด็กและเยาวชน วิธีวิจัย: การวิจัยนี้ใช้การศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) โดยประกอบด้วยการวิเคราะห์ปริมาณสารแคนนาบินอยด์ในผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาและกัญชง การสัมภาษณ์เชิงปริมาณและคุณภาพในกลุ่มที่เป็นเด็กและเยาวชน รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้จำหน่ายและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษา: ผลการวิจัยจากตัวอย่างผลิตภัณฑ์ 129 ตัวอย่าง พบว่า ประมาณร้อยละ 30 ไม่พบสาร THC และพบสาร THC มากกว่าร้อยละ 0.20 โดยน้ำหนักซึ่งเกินกฎหมายกำหนด จำนวน 17 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมากจนอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังคงพัฒนาทางร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและผู้บริโภคพบว่า ยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของการใช้กัญชาในอาหารที่แตกต่างกัน เยาวชนที่บริโภคประจำเห็นว่า การบริโภค ช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย ลดความเครียด และทำงานได้มากขึ้น เป็นต้น ทำให้เกิดความต้องการในการใช้ซ้ำอีก ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดภาวะพึ่งพิงทางร่างกายและจิตใจในระยะยาว สรุป: งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการควบคุมและตรวจสอบปริมาณสารแคนนาบินอยด์ในผลิตภัณฑ์กัญชา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงกลุ่มเด็กและเยาวชน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและส่งเสริมให้เกิดการใช้กัญชาอย่างเหมาะสมและมีความรับผิดชอบ ข้อเสนอแนะ: 1. ควรมีมาตรการกำกับ ดูแลการใช้กัญชาในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มอย่างเคร่งครัด รวมถึงกำหนดปริมาณ THC ที่ปลอดภัยและเหมาะสม 2. ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงของการใช้กัญชาในกลุ่มเด็ก เยาวชน และผู้ประกอบการ 3. การบังคับใช้กฎหมายและแนวทางป้องกันการเข้าถึงผลิตภัณฑ์กัญชาในกลุ่มเด็กและเยาวชนควรมีความชัดเจนและเข้มงวด


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6189

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้