ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 466 คน
การกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในเขตกรุงเทพมหานคร
นักวิจัย :
สิริรัตน์ สุวัชรชัยติวงศ์ , นิกร ศิริวงศ์ไพศาล , ดลยา บัวคำ , นาตยา จึงเจริญธรรม ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
6 พฤศจิกายน 2567

แนวคิดการพัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิใกล้บ้านเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยในเบื้องต้นก่อนจะมาโรงพยาบาลเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยลดปัญหาความแออัดในสถานบริการสาธารณสุขลงได้ โดยในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาด้านทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมของหน่วยบริการปฐมภูมิ “คลินิกชุมชนอบอุ่น” ซึ่งให้บริการผู้ป่วยภายใต้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยในปัจจุบันคลินิกที่เข้าร่วมโครงการอาจยังมีจำนวนไม่เพียงพอกับประชากรในกรุงเทพมหานคร จากการประเมินความเหมาะสมของหน่วยบริการปฐมภูมิต่อจำนวนประชากร พบว่ากว่า 41 เขตจาก 50 เขตนั้น มีจำนวนคลินิกชุมชนอบอุ่นน้อยกว่าจำนวนหน่วยบริการที่เหมาะสม ดังนั้น ในงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการขยายการเข้าถึงการรักษาในมุมมองของโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพจากการพิจารณาหน่วยบริการที่เป็นคลินิกเพิ่มขึ้น โดยในงานนี้ได้ทำการ 1) ออกแบบตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยบริการที่เหมาะสม ได้ออกแบบตามหลักเกณฑ์ 2 ประการ ได้แก่ ความสามารถในการเข้าถึงบริการปฐมภูมิ และความเพียงพอของจำนวนหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ และ 2) การพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สำหรับการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยงานวิจัยนี้ได้ประเมินความเหมาะสมด้านพื้นที่ของหน่วยบริการปฐมภูมิจากการพิจารณาความสะดวกในการเข้าถึง การเชื่อมต่อกับหน่วยบริการสุขภาพระดับทุติยภูมิ และการเป็นที่มองเห็นได้ โดยการประเมินหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมด้วยเทคนิค AHP (Analytical Hierarchical Process) ร่วมกับข้อมูลบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) โดยการกำหนดปัจจัยที่สำคัญในการบ่งชี้ความเหมาะสมของพื้นที่ 12 ประการ แล้วประเมินระดับความเหมาะสมเชิงพื้นที่ใน 5 ระดับ จากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน คลินิกที่เข้าร่วมโครงการที่สามารถระบุพิกัดได้นั้นมีจำนวน 377 แห่ง ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เหมาะสมระดับมากที่สุดและมากเพียง ร้อยละ 17 นอกนั้นเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมระดับปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด รวมกว่า ร้อยละ 83 โดยคลินิกครอบคลุมประชากรผู้ป่วยบัตรทองอยู่ที่ ร้อยละ 67.73 จากนั้นจัดสรรคลินิกที่ยังไม่เข้าร่วมเพิ่มเติมโดยใช้การวิเคราะห์ด้วย GIS พบว่าสามารถเพิ่มการครอบคลุมผู้รับบริการได้ถึง ร้อยละ 90.80 จากการจัดสรรคลินิกรวมทั้งสิ้น 577 แห่ง นอกจากนี้ได้วิเคราะห์การจัดสรรคลินิกไปยังศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ในรูปแบบการจัดสรรตามโซนสุขภาพของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้การส่งต่อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ได้นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในด้านต่าง ๆ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านปัจจัยในการกำหนดความเหมาะสมของทำเลที่ตั้งของหน่วยบริการปฐมภูมิ 2) ด้านการเพิ่มการเข้าถึงหน่วยบริการปฐมภูมิของผู้รับบริการ 3) ด้านการควบคุมดูแลหน่วยบริการ (คลินิก) โดยศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง 4) ด้านความคาดหวังของผู้รับบริการในการเลือกรับบริการหน่วยบริการปฐมภูมิ (คลินิก) และ 5) ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6190

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้