งานวิจัยมาใหม่แนะนำ
หลักฐานทางวิชาการก่อนการศึกษานี้ โรคพิธิโอซิสในหลอดเลือดเป็นโรคที่พบได้ไม่มาก แต่เป็นโรคที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยได้ โดยผู้ป่วยที่ยังมีรอยโรคหลังจากการผ่าตัดจะเสียชีวิตทั้งหมดไม่ว่าจะได้รับการรักษาโดยยาอื่น ๆ ดังนั้นแล้วการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเพื่อให้ส่วนที่ติดเชื้อออกทั้งหมดจึงเป็นการรักษาหลักและเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วย ในการศึกษาของทางทีมผู้วิจัยที่ผ่านมาพบว่า ถึงแม้ผู้ป่วยจะมีผลการตรวจทางพยาธิวิทยาว่าไม่เหลือส่วนที่ติดเชื้อแล้ว แต่ถ้าระดับเบต้ากลูแคนในเลือดของผู้ป่วยไม่ลดหลังผ่าตัดแสดงว่ายังมีรอยโรคหลงเหลืออยู่ในร่างกายและจะนำไปสู่การเกิดโรคซ้ำและเสียชีวิตตามมา จากผลการศึกษานี้ทำให้ทีมผู้วิจัยคอยตรวจติดตามระดับเบต้ากลูแคนในเลือดผู้ป่วยเสมอมา อย่างไรก็ตาม การตรวจระดับเบต้ากลูแคนในไทยยังมีจำกัดมากเพราะสามารถตรวจได้ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพียงที่เดียวและราคายังสูงมาก นอกจากการผ่าตัด การรักษาโรคพิธิโอซิสด้วยยาในไทย เดิมใช้ยา itraconazole ร่วมกับ terbinafine ซึ่งเป็นยาต้านเชื้อรา จากผลการศึกษาเก่าจากต่างประเทศ แต่การศึกษาความไวของเชื้อโรคพิเธียมในไทยนั้นพบว่าเชื้อโรคไวต่อยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม tetracyclines และ macrolides มากกว่า ทำให้การรักษาโรคพิธิโอซิสภายใต้การศึกษาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เปลี่ยนมาเป็น itraconazole, azithromycin และ doxycycline คุณค่าที่เพิ่มเติมจากการศึกษานี้ การศึกษานี้เป็นการทดลองทางคลินิกที่ทดสอบแผนการรักษาใหม่ซึ่งประกอบด้วยยา azithromycin, doxycycline, itraconazole และการผ่าตัด โดยมีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 51 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่มีโรคคงเหลือ 19 ราย และกลุ่มที่ไม่มีโรคคงเหลือ 32 ราย ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคคงเหลือพบว่ามีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาในอดีตที่ใช้ itraconazole ร่วมกับ terbinafine ที่ผู้ป่วยทั้งหมดจะเสียชีวิตภายใน 3 เดือน การรักษาแบบใหม่พบว่าผู้ป่วยที่มีโรคคงเหลือบางรายสามารถรอดชีวิตได้เกินกว่า 3 เดือน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา azithromycin และ doxycycline ร่วมด้วยในการรักษา การศึกษาความไวของเชื้อพบว่าเชื้อพิเธียมมีความไวต่อยา azithromycin และ doxycycline นอกจากนี้ยังพบว่ายากลุ่ม tetracyclines และ macrolides มีผลออกฤทธิ์เสริมกัน จากผลการศึกษานี้ ทีมวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าแผนการรักษาใหม่สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคพิธิโอซิสได้อย่างมีนัยสำคัญ การเปลี่ยนแปลงแผนการรักษาเพื่อรวมยา azithromycin และ doxycycline เข้ามาแทนที่ยา terbinafine ทำให้ผู้ป่วยที่มีโรคคงเหลือสามารถรอดชีวิตได้เกินกว่า 3 เดือน ซึ่งเป็นความสำเร็จในการรักษาที่มีความสำคัญและควรนำไปพิจารณาใช้เป็นแนวทางการรักษาในอนาคต
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้