ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 584 คน
การพัฒนาระบบรายงานข้อมูลบริหารเวชภัณฑ์ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ และการเชื่อมต่อกับโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
นักวิจัย :
ชุติมา อรรคลีพันธุ์ , วรนัดดา ศรีสุพรรณ , ไพรำ บุญญะฤทธิ์ , จอมขวัญ โยธาสมุทร , วิไลลักษณ์ แสงศรี , อารยา ญาณพิบูลย์ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
15 ตุลาคม 2567

ความเป็นมา ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์เริ่มต้นการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ในชื่อ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยา กองโรงพยาบาลภูมิภาค ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศหลักการและมาตรการปฏิรูประบบบบริหารเวชภัณฑ์ (Good Health at Low Cost) เพื่อตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ และได้มอบหมายให้ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยารับผิดชอบเพิ่มเติมในการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามมาตรการฯ และเผยแพร่ข้อมูลด้านราคาและคุณภาพ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้มีองค์กรหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ติดตามดูแลงานด้านบริหารเวชภัณฑ์อย่างถาวร เพื่อติดตามสถานการณ์ด้านยาทั้งในเรื่องคุณภาพและราคาที่โรงพยาบาลต่างๆ ต้องจัดซื้อ โดยเป็นการสนับสนุนผู้บริหารในจังหวัดและหน่วยงานต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลาผ่านเว็บไซต์ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยา และเมื่อภารกิจขยายเพิ่มมากขึ้น ปี พ.ศ. 2544 ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข (Drug and Medical Supply Information Center, Ministry of Public Health หรือ DMSIC) เพื่อให้ครอบคลุมสารสนเทศทั้งยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาอื่นๆ สำหรับการบริหารเวชภัณฑ์ของสถานบริการในเครือข่ายระบบบริการตามโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า นอกเหนือจากการมีเว็บไซต์เป็นเครื่องมือเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ แล้ว ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข ยังมีหน้าที่ในการติดตามข้อมูลการดำเนินงานตามมาตรการฯ (ซึ่งรวมถึงข้อมูลการบริหารเวชภัณฑ์) ของโรงพยาบาลดังกล่าวแล้ว เพื่อรวบรวมข้อมูลของทุกโรงพยาบาลไว้ในระบบฐานข้อมูลของกองบริหารการสาธารณสุข การรับข้อมูลจากโรงพยาบาลดำเนินการใน 2 รูปแบบ คือ การส่งข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานโดยลงข้อมูล (key-in) บนหน้าเว็บไซต์รายโรงพยาบาลเป็นลักษณะข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) และการ upload ข้อมูลในรูปแบบ excel file (เฉพาะแผนจัดซื้อ) อย่างไรก็ตาม การขอข้อมูลในรูปแบบข้อมูลทุติยภูมินี้มีข้อจำกัดทั้งในด้านจำนวนข้อมูลที่ต้องการ ความถูกต้องของข้อมูล และระยะเวลาที่จะได้รับข้อมูล นอกจากนี้ ยังไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลขณะที่ส่ง-รับได้ในทันที การดำเนินงานของโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงระบบ (เปลี่ยน) ระบบการส่ง-รับข้อมูล การเพิ่มคุณภาพข้อมูล และใช้ประโยชน์ข้อมูลอย่างเต็มคุณค่า โดยโครงการมีด้วยกันหลายส่วนและกิจกรรม ดังนั้น เพื่อให้เห็นภาพผลการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน จึงขอสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมและผลงานที่เกิดขึ้น ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้ วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อพัฒนาระบบรายงานข้อมูลบริหารเวชภัณฑ์ยา ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ (DMSIC) และโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นรูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ application programming interface (API) โดยมีผลการดำเนินการคือ การพัฒนาการส่ง-รับข้อมูลใน 2 ระบบ (2 ระยะ) คือ ระบบที่ 1 (ระยะที่ 1) web-based file upload ในรูปแบบ file excel และ csv ที่โรงพยาบาลสามารถ upload และ download ข้อมูลที่ส่งผ่านแล้วได้ โดยมีระบบการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่โรงพยาบาลส่ง (ทั้งการตรวจสอบเบื้องต้น และในข้อมูลที่สำคัญ) และที่แก้ไขข้อมูลได้บนหน้าเว็บไซต์ และส่งไฟล์โหม่ พร้อมระบบเฝ้าระวังและรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานที่ สธ. กำหนด (ใช้วิธี user name, password และ token) ระบบนี้ปรับปรุงต่อยอดจากระบบเดิมเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบที่ 2 ซึ่งเป็นเป้าหมาย ระบบที่ 2 (ระยะที่ 2) API (application program interface) เป็นการส่งข้อมูลตรงจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลไปยังฐานรับข้อมูลของ DMSIC โดยที่ผู้ส่งข้อมูลต้องอนุญาตส่ง พร้อมระบบเฝ้าระวังและรักษาความปลอดภัยเช่นเดียวกับระบบที่ 1 วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มคุณภาพของข้อมูลด้วยการเปลี่ยนการรายงานด้วยข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) เป็นข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) โดยมีผลการดำเนินการ คือ (ก) กำหนดข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน ทั้งสิ้น 5 ชุดข้อมูล ได้แก่ แผนปฏิบัติการจัดซื้อประจำปี, บัญชีรายการยาโรงพยาบาล, รายการรับยาเข้าคลัง (RECEIPT), รายการจ่ายยาออกจากคลัง (DISTRIBUTION) และรายการยาคงคลัง (INVENTORY) รวมถึงการทดสอบ ปรับปรุง แก้ไข จนได้ชุดข้อมูลมาตรฐานสุดท้าย (ข) เพิ่มคุณภาพข้อมูลที่โรงพยาบาลส่งด้วยการพัฒนาและกำหนดประเด็นสำคัญของข้อมูลแต่ละชุดที่ต้องมีความสอดคล้อง (โดยกำหนดเป็น error code เพื่อให้ระบบดักจับได้) และครบถ้วน (ไม่ให้มีข้อมูลที่เป็นค่าว่าง (ค) การเปลี่ยนรูปแบบข้อมูล จากเดิมที่ใช้เป็น web-based key-in เป็นข้อมูลในรูปแบบ upload file ทั้งหมด ซึ่งยังคงเป็นข้อมูลทุติยภูมิ แต่ใช้วิธีการวมไฟล์ข้อมูลจากโรงพยาบาลต่างๆ ในรูปแบบอัตโนมัติ และ (ง) จัดทำตารางมาตรฐาน (master table) ข้อมูลในระบบรับข้อมูลของ DMSIC และระบบการปรับปรุงข้อมูลสำคัญ ได้แก่ รหัสมาตรฐานโรงพยาบาล, รหัสมาตรฐานยา ATC, รหัสยาบัญชียาหลักแห่งชาติ, รหัสมาตรฐาน TMT และ TTMT) โดยจัดทำเป็น API และ web application เพื่อการปรับปรุง (update) ข้อมูลรหัสดังกล่าวให้ตรงตามข้อมูลต้นทาง วัตถุประสงค์ที่ 3 นำเสนอผลการใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลบริหารเวชภัณฑ์ และผลการดำเนินการ ได้แก่ ราคาคายาอ้างอิง และข้อมูลตามตัวชี้วัดที่กำหนด ด้วยระบบประมวลผลอัจฉริยะ business intelligence (BI) และรูปแบบการนำเสนอที่ทันสมัยและทันกาล เช่น data visualization, report & dashboard เป็นต้น โดยมีผลการดำเนินการอย่างเป็นระบบ วัตถุประสงค์ที่ 4 ติดตามประเมินผล (monitoring & evaluation) ประสิทธิภาพและความพึงพอใจการดำเนินงานโครงการและระบบที่พัฒนาขึ้น จากความเห็นของโรงพยาบาลและหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการและ/หรือที่ใช้ประโยชน์ พบว่าโครงการฯ ควรพัฒนาและดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม ยังมีความไม่มั่นใจว่าโครงการฯ จะทำให้เกิดประโยชน์จากการใช้ข้อมูลได้ เกิดประสิทธิภาพของระบบรายงาน และลดภาระงานของโรงพยาบาลได้ตามเป้าหมาย


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6172

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้