ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 110 คน
การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อประสิทธิภาพกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
นักวิจัย :
ศิราณี ศรีหาภาค , ศรีสุดา ลุนพุฒิ , ชลการ ทรงศรี , สถาพร แถวจันทึก , วิสุทธิ์ โนจิตต์ , กำทร ดานา , อดิเรก เร่งมานะวงษ์ , แสงดาว จันทร์ดา ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
18 กันยายน 2567

การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่หลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการกองทุน ผู้จัดบริการกองทุน และผู้รับบริการของกองทุน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ในช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 – พฤษภาคม พ.ศ. 2567 สรุปผลการศึกษาดังต่อไปนี้ 1) ความพร้อมของกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นก่อนและหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 4.95 (คะแนนเต็ม 7 คะแนน) และพบว่าระบบการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนในระดับอำเภอและระดับจังหวัดหายไปจากโครงสร้างของกองทุน 2) สถานการณ์และผลกระทบกองทุนสุขภาพตำบล พบว่าหลังการถ่ายโอนภารกิจงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <.001) และสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณ รพ.สต. มีจำนวนเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <.001) อย่างไรก็ตามพบว่าประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <.001) โดยมีสัดส่วนงบประมาณคงเหลือลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <.001) อย่างไรก็ตามพบว่าผลลัพธ์ทางด้านคลินิกของการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของกองทุนยังไม่ชัดเจน 3) สถานการณ์และผลกระทบกองทุนระบบการดูแลระยะยาวพบว่า งบประมาณของกองทุนหลังการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value<.001) และแผนการดูแลผู้ป่วยที่แล้วเสร็จหลังการถ่ายโอนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value<.001) ในขณะที่ประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <.001) โดยมีสัดส่วนการคงเหลืองบประมาณลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value<.001) อย่างไรก็ตามพบว่าจำนวนผู้จัดการดูแล และผู้ดูแลเป็นปัญหาหลักของกองทุนระบบการดูแลระยะยาวหลังการถ่ายโอน รพ.สต. รวมทั้งระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณที่มีความลักลั่น และขาดการติดตามเยี่ยมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพจากโรงพยาบาล 4) สถานการณ์และผลกระทบกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ พบว่า ความครอบคลุมและการเข้าไม่ถึงกองทุนเป็นปัญหาหลักในการบริหารจัดการของกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งพบว่า 2 ใน 5 แห่ง สมัครเข้าร่วมกองทุนแต่ไม่สามารถจัดบริการ ในขณะที่การถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. เป็นโอกาสให้กองทุนสามารถขยายเครือข่ายในการทำงานกองทุนได้มากขึ้น ผลจากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ออกแบบจำลองพัฒนาประสิทธิภาพกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น 2 รูปแบบ คือ แบบจำลองการบูรณาการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น และแบบจำลองสุขภาพจังหวัด และนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้แก่ การปรับโครงสร้างคณะกรรมการกองทุนและระเบียบปฏิบัติ พัฒนาระบบการกำกับติดตามและประเมินผล พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของกองทุน พัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบกองทุนและผู้จัดการดูแล เป็นต้น


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6150

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้