ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 175 คน
มาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิและความพร้อมให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ประสงค์ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
นักวิจัย :
ดาราวรรณ รองเมือง , อินทิรา สุขรุ่งเรือง , จีราพร ทองดี , ลลิตา เดชาวุธ , กฤษณี สุวรรณรัตน์ , อติญาณ์ ศรเกษตริน , ภัทร์พงศ์ อุดมพัฒน์ , จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
30 กันยายน 2567

ภูมิหลังและเหตุผล: พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรฐานและความพร้อมในการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ประสงค์จะถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ระเบียบวิธีศึกษา: เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกและการอภิปรายกลุ่ม ร่วมกับการสำรวจเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้เกี่ยวข้องเชิงนโยบาย (n = 6) ผู้แทนจากภาคสาธารณสุข (n = 28) ผู้แทนจากภาค อปท. (n = 16) และผู้แทนจากภาคประชาชน (n = 24) และการศึกษาเชิงปริมาณ คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือตัวแทน (n = 430) เลือกแบบสุ่มอย่างง่าย ตามขนาด อบจ. เล็ก กลางและใหญ่ เครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และเชิงปริมาณคือแบบประเมินความพร้อมและความสามารถในการให้บริการตามมาตรฐานบริการปฐมภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา: 1. รพ.สต. มีความพร้อมทางด้านโครงสร้าง อยู่ในระดับพอดี หรือมาก แต่ความพร้อมของบุคลากรสายวิชาชีพ โดยเฉพาะแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และทันตแพทย์ รวมทั้งสายสนับสนุนด้านการเงินและบัญชี ยังอยู่ในระดับน้อย 2. รพ.สต. ส่วนใหญ่คิดว่ามีความสามารถในการให้บริการตามมาตรฐานบริการปฐมภูมิภายหลังการถ่ายโอนภารกิจเท่าเดิมและมากขึ้น มีเพียงบริการทันตกรรม ที่คิดว่าสามารถให้บริการได้ลดลง 3. ข้อเสนอแนะจาก รพ.สต. เพื่อให้การบริการสุขภาพสำหรับประชาชนในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยเฉพาะการให้บริการรักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และทันตกรรม ควรเป็นไปในรูปแบบของเครือข่ายแบบเดิมไปก่อน ข้อยุติ: องค์การบริหารส่วนจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ควรทำแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ สรรหาบุคลากรทั้งสายวิชาชีพและสายสนับสนุน รวมถึงลงนามความร่วมมือในการสนับสนุนบริการในรูปแบบเดิมในช่วงเปลี่ยนผ่าน และเตรียมความพร้อมในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล ประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐานวิชาชีพ และควรมีการดำเนินงานขับเคลื่อนภาคประชาชนด้วย


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6157

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้