ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 109 คน
การวิเคราะห์อภิมานและการเสวนาหาฉันทมติเพื่อพัฒนาบัญชียาจำเป็นในระบบการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล
นักวิจัย :
ปิยวัฒน์ ดิลกธรสกุล , นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
30 กันยายน 2567

ภูมิหลังและเหตุผล: รายการยาจำเป็นในภาวะฉุกเฉินต้องการความชัดเจนของหลักฐานเชิงประจักษ์และข้อกำหนดในการจัดการระบบยา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อภิมานและเสวนาหาฉันทมติในการพัฒนาข้อเสนอปรับปรุงบัญชีรายการยาจำเป็นสำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาลของหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินตามระดับศักยภาพโรงพยาบาล กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ระเบียบวิธีศึกษา: การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การวิเคราะห์อภิมานด้วยการค้นหาและสกัดข้อมูลอย่างเป็นอิสระต่อกันของนักวิจัย 2 คน ใช้คำค้นในระบบ PICO (patient, intervention, comparison, outcome) เพื่อหางานวิจัยฉบับเต็มที่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1990-2021 จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ PubMed, Medline, Embase, Cochrane และเอกสารอ้างอิง ผลการสืบค้นพบงานวิจัย 2,096 ฉบับ เมื่อคัดงานวิจัยที่ซ้ำกันออก 866 ฉบับ และคัดงานวิจัยที่ชื่อเรื่องและบทคัดย่อไม่เกี่ยวข้องออก 1,199 ฉบับ จะเหลืองานวิจัยเพื่อวิเคราะห์อภิมาน 31 ฉบับ นำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาข้อเสนอการปรับปรุงบัญชีรายการยาสำหรับผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล โดยรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เดี่ยวในความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ 12 คน และกลุ่มของผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน 12 คน แล้วหาฉันทมติตัดสินใจหลังจากนำเสนอข้อมูลรวมอีกครั้ง ผลการศึกษาและสรุป: การวิเคราะห์อภิมานของหลักฐานเชิงประจักษ์และระดับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญได้ข้อสรุปการพัฒนาข้อเสนอบัญชียาจำเป็นในระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล สำหรับชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง 3 รายการ คือ dopamine injection, norepinephrine injection, epinephrine injection และการได้รับ epinephrine ภายใน 10 นาทีหลังจากเรียกชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะมีอัตราการรอดชีวิตร่วมกับมีอาการทางคลินิกที่ดี รูปแบบการจัดการด้านยาฉุกเฉินควรจัดเป็นกล่องยาฉุกเฉิน สำรองกล่องไว้ที่หน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินและที่ห้องยา เมื่อออกเหตุจึงนำกล่องยาฉุกเฉินที่สำรองไปใช้ และนำกล่องที่ใช้แล้วมาแลกกล่องใหม่เพื่อให้เภสัชกรตรวจสอบการใช้ยาและจัดเติมยาให้พร้อมใช้ต่อไป


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6160

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้