ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 448 คน
บทเรียนการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของระบบบริการสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19 พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ประเทศไทย
นักวิจัย :
สุทัศน์ เสียมไหม , อัญชลี พงศ์เกษตร , ฟูซียะห์ หะยี , พยงค์ เทพอักษร , ไพสิฐ บุณยะกวี , พุทธิพงศ์ บุญชู , ชวนากร ศรีปรางค์ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
30 กันยายน 2567

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อระบบบริการสุขภาพในการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข การวิจัยคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ ถอดบทเรียนผลการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรคในการเตรียมการ การป้องกันและการตอบสนองภาวะฉุกเฉินของโควิด-19 และ 2) ประเมินผลลัพธ์เชิงระบบของการจัดการภาวะฉุกเฉินในภาวะวิกฤตโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญระดับนโยบาย จำนวน 115 คน และผู้ปฏิบัติ จำนวน 139 คน โดยเลือกแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การอภิปรายกลุ่มและการประชุมระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ผลดำเนินการเตรียมการ การป้องกันและการตอบสนองภาวะฉุกเฉินของโควิด-19 ของระบบบริการสุขภาพ ตติยภูมิ ทุติยภูมิ ปฐมภูมิ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ยังขาดประสิทธิภาพ พบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ได้แก่ ข้อจำกัดของการจัดตั้งระบบในการเตรียมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน และระบบบัญชาการเหตุการณ์ ขาดการซ้อมแผนแนวทางการดำเนินงาน ทีมทำงานไม่เข้าใจบทบาทการปฏิบัติหน้าที่ตามกล่องภารกิจด้านการประเมินสถานการณ์ การปฏิบัติการ การสื่อสารความเสี่ยง การดูแลรักษาผู้ป่วย การสำรองเวชภัณฑ์และส่งกำลังบำรุงและด้านกฎหมาย บุคลากรไม่เพียงพอ งบประมาณไม่เพียงพอในการจัดการ มีการจัดการศพผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ถูกต้องตามหลักการป้องกันโรค วิถีชีวิตความเป็นอยู่/ความเชื่อตามหลักศาสนาเป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน การประเมินผลเชิงระบบของการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข พบว่า ทุกจังหวัดยังขาดประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโควิด-19 ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขควรมีการกำหนดนโยบายพร้อมสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นแก่ระบบบริการสุขภาพ ให้มีการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุโรคระบาดระดับชาติ ซ้อมแผนศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินและระบบบัญชาการเหตุการณ์ ระดับจังหวัด อำเภอ อย่างต่อเนื่อง และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพิเศษในพื้นที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัด ผู้นำศาสนาอิสลาม บาบอ โต๊ะครู ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคระบาด


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6161

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้