ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 481 คน
โปรแกรมการฝึกอบรมการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์
นักวิจัย :
ยาใจ สิทธิมงคล , อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์ , มานพ พิทักษ์ภากร , นิธิวัชร์ วัฒนวิจารณ์ , ตวงสิทธิ์ วัฒกนารา , ชนินทร์ ลิ่มวงศ์ , พวงเพชร เกษรสมุทร , วารีรัตน์ ถาน้อย , วไลลักษณ์ พุ่มพวง , วารุณี พลิกบัว , พิจิตรา เล็กดำรงกุล , เกศศิริ วงษ์คงคำ , ภัทรนุช วิทูรสกุล , วรรณา ทองนพคุณ , รุ่งนภา รู้ชอบ , ณัฐมา ทองธีรธรรม ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
30 กันยายน 2567

การเข้าถึงบริการเวชศาสตร์จีโนม สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชนและครอบครัว อย่างไรก็ตามการให้บริการเวชศาสตร์จีโนมต้องการบุคลากรที่มีความรู้และทักษะที่เฉพาะที่สามารถให้การปรึกษาและสื่อสารให้ผู้ใช้บริการมีความเข้าใจและปรับตัวกับปัญหาสุขภาพได้ เนื่องจากความรู้และเทคโนโลยีทางเวชศาสตร์จีโนมมีความซับซ้อน เข้าใจยาก และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ อารมณ์ สังคม เศรษฐกิจ และการทำหน้าที่การงานของผู้ป่วยและครอบครัวได้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรผู้ให้คำปรึกษาแนะนำทางพันธุศาสตร์ เพื่อให้สามารถประสานงานระหว่างแพทย์เวชพันธุศาสตร์และบุคลากรสุขภาพด้วยกัน และเชื่อมต่อข้อมูลการบริการ การส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพให้กับผู้ใช้บริการและครอบครัว เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เกิดความรู้ความเข้าใจในปัญหาสุขภาพของตนเองและนำไปสู่การตัดสินใจเพื่อการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวต่อไป คณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโปรแกรมการฝึกอบรมการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสหวิชาชีพทางสุขภาพ ที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลทุกระดับ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลและเทคนิคการแพทย์ ให้มีความรู้และทักษะ ในการเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำทางพันธุศาสตร์ (Genetic Counselor) และนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนและให้คำปรึกษาแนะนำทางพันธุศาสตร์ (Genetic Counseling) ให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้หลักสูตรที่พัฒนาโดยสมาคมเวชพันธุศาสตร์และสภาวิชาชีพทางสุขภาพ และได้รับอนุมัติให้ใช้หลักสูตรในการจัดฝึกอบรมได้ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ได้เปิดการฝึกอบรมในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2566 มีบุคลากรสุขภาพสมัครเข้ารับการอบรมจำนวน 96 คน ได้ผ่านการคัดเลือกรับทุนสนับสนุนจาก สวรส และผ่านการฝึกอบรมได้รับประกาศนียบัตรผู้ให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ จำนวน 45 คน ประกอบด้วยวิชาชีพแพทย์ 5 คน เภสัชกร 4 คน พยาบาล 21 คน และเทคนิคการแพทย์ 15 คน โปรแกรมการฝึกอบรมการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ ใช้ระยะเวลา 16 สัปดาห์ ประกอบด้วย 2 ชุดการเรียนรู้ (Modules) ชุดการเรียนรู้ที่ 1 มี 8 รายวิชา ๆ ละ 1 หน่วยกิต ใช้เวลาหน่วยกิตละ 15 ชั่วโมง จัดการเรียนการสอนแบบ online ในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 17.00-20.00 น ใช้เวลาเรียนเป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 - วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 ชุดการเรียนรู้ที่ 2 วิชาทฤษฎีและปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 รายวิชา จำนวน 8 หน่วยกิต จัดการเรียนการสอนแบบ on site เนื่องจากแหล่งฝึกมีจำนวนน้อย และสถานที่คับแคบ จึงจัดการฝึกปฏิบัติเป็น 3 รอบ ๆ ละ 15-20 คน ในวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 9.00-16.00 น เป็นเวลารอบละ 2 เดือน ในการฝึกปฏิบัติ ผู้เข้าฝึกอบรมได้สังเกตการณ์และ/หรือฝึกปฏิบัติกับผู้มารับบริการในคลินิก ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์ ชั้น 4 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ครบถ้วนตามเกณฑ์การประเมินผลของหลักสูตร ฯ จึงมีบุคลากรทางสุขภาพเข้ารับประกาศนียบัตรการให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ที่จัดโดยสมาคมเวชพันธุศาสตร์ร่วมกับสภาวิชาชีพจำนวน 45 คน ผลการประเมินจากผู้เข้าอบรมมีระดับความพึงพอใจต่อภาพรวมของการจัดหลักสูตร ฯ ในระดับมากถึงมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.84 จากคะแนนเต็ม 5 ผลการประเมินรายด้าน ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เนื้อหารายวิชา การสอนของอาจารย์ ความเหมาะสมของแหล่งฝึกปฏิบัติ อยู่ในระดับดีถึงดีมากในทุกด้าน ผลการประเมินด้วยการสะท้อนคิดและการให้ข้อมูลป้อนกลับ ผู้เข้าอบรมสะท้อนว่าเป็นการอบรมที่ดีมาก การฝึกอบรมในระยะเวลา 4 เดือนอาจจะไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับปริมาณและความซับซ้อนของเนื้อหา แต่สามารถทำให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี อยากให้จัดหลักสูตรนี้ต่อเนื่องเพราะเป็นประโยชน์กับสหวิชาชีพเป็นอย่างมาก ผู้เข้าอบรมให้ความเห็นว่าการจัดอบรมหลักสูตรการให้คำปรึกษาแก่สหวิชาชีพทางสุขภาพร่วมกันมีประโยชน์มาก ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน มีความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจในบทบาทหน้าที่การทำงานของแต่ละวิชาชีพสุขภาพ และมีเครือข่ายในการทำงานด้านการบริการจีโนมในอนาคต ซึ่งสามารถแบ่งปันความรู้ ข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ในอนาคต


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6163

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้