งานวิจัยมาใหม่แนะนำ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เพื่อรองรับการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จากกระทรวงสาธารณสุขว่าได้ดำเนินการก้าวหน้าไปเพียงใด มีอุปสรรคปัญหาอะไรบ้าง และแนวทางการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง ในการนี้คณะวิจัยได้เลือกใช้รูปแบบการวิจัยประเมินผลเป็นวิธีวิทยาการประเมิน โดยได้ทบทวนวรรณกรรมและกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยขึ้นให้สอดคล้องกับเกณฑ์ที่คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.)กำหนดขึ้นให้ อบจ. ดำเนินการ 5 ข้อ คือ (1) ความก้าวหน้าในการดำเนินการด้านโครงสร้างองค์การ อันได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) และกองสาธารณสุขขึ้นใน อบจ. (2) ความก้าวหน้าในการจัดการบุคคลให้เป็นไปตามเงื่อนไขการถ่ายโอน (3) ความก้าวหน้าในการจัดการด้านงบประมาณและการบัญชี (4) ความก้าวหน้าในการจัดการด้านสาธารณสุขมูลฐาน และ (5) ความก้าวหน้าในการจัดการติดตาม กำกับ และประเมินผลการดำเนินงานของ รพ.สต. ในด้านวิธีวิทยา ได้เลือกใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ในขั้นตอนที่ 1 ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสำรวจควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์เจาะลึก จาก อบจ. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ใน 8 จังหวัด 4 ภาค ขั้นตอนที่ 2 ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยถอดประเด็นสำคัญบางประเด็นจากขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบความเป็นทั่วไป การวิจัยเชิงปริมาณได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง อบจ. และ สสจ. 49 จังหวัดที่รับการถ่ายโอนในปีงบประมาณ 2566 ผลการประเมินพบว่า ความก้าวหน้าในการดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - เมษายน 2566 ในส่วนที่ อบจ. รับผิดชอบโดยตรงส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 80) ได้ดำเนินการลุล่วงไปแล้วตามเป้าหมาย ส่วนที่เหลือ (ประมาณร้อยละ 20) อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จทันปีงบประมาณ 2566 ในด้านปัญหาที่สำคัญที่พบ ได้แก่ การไม่ได้รับการถ่ายโอนในด้านสิทธิประโยชน์เฉพาะตัวของบุคลากรไปด้วย และบุคลากรจำนวนหนึ่งไม่สมัครใจถ่ายโอน ซึ่ง อบจ. ได้แก้ปัญหาโดยจัดสรรเงินของตนบรรเทาความเดือดร้อนไปก่อน ส่วนการแก้ปัญหาบุคลากรที่ไม่สมัครใจถ่ายโอนมาด้วย อบจ. ใช้วิธีรับสมัครบุคลากรเพิ่มเติม ซึ่งก็สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปได้ตามสมควร
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้