ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 124 คน
การวิจัยประเมินผลนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 3 ระบบข้อมูล/สารสนเทศ
นักวิจัย :
อุดม ทุมโฆสิต , นิธินันท์ ธรรมากรนนท์ , สุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาว ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
1 สิงหาคม 2567

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลด้านระบบข้อมูล/สารสนเทศของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ได้รับการถ่ายโอนจากกระทรวงสาธารณสุขไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยมุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงสังกัดของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปสู่ อบจ. ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบข้อมูลและสารสนเทศได้บ้างหรือไม่ อย่างไร และประเมินผลความพร้อมและประสิทธิภาพของระบบข้อมูลและสารสนเทศของ รพ.สต. ในการสนับสนุนการให้บริการแก่ประชาชน ภายหลังจากการถ่ายโอนไปสู่ อบจ. ในการนี้คณะวิจัยได้เลือกใช้รูปแบบการวิจัยประเมินผล โดยได้ทบทวนวรรณกรรมและกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยประเมินผลขึ้นในรูปแบบโจทย์คำถามเพื่อเป็นแนวทางในการแสวงหาคำตอบ 5 ข้อ ในด้านวิธีวิทยาการวิจัย ได้เลือกใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลโดยการสำรวจข้อมูลเชิงรุกร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ตรงในการผลิตข้อมูลนั้น หลังจากนั้นได้ทำการวิเคราะห์และตีความเพื่อตอบโจทย์การวิจัยจาก 32 รพ.สต. ใน 8 จังหวัด 4 ภาค ผลการประเมินพบว่า 1) ลักษณะทั่วไปของข้อมูล/สารสนเทศของ รพ.สต. พบว่า หลังการถ่ายโอนส่วนใหญ่ยังคงเหมือนเดิม มีเพียงส่วนน้อยที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น 2) ระบบคุณภาพของข้อมูลของ รพ.สต. พบว่า หลังการถ่ายโอนส่วนใหญ่ยังคงเหมือนเดิม ยังไม่มีระบบการจัดการข้อมูลหรือคุณภาพข้อมูลเป็นของตนเอง รพ.สต. มีเพียงส่วนน้อยที่ อบจ. มาดูแลระบบข้อมูลให้ดีขึ้น 3) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า หลังการถ่ายโอนส่วนใหญ่ยังคงใช้ระบบเดิม 4) ระบบข้อมูล/สารสนเทศ มีฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายและมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของระบบสุขภาพปฐมภูมิ (ของ รพ.สต.) พบว่า หลังการถ่ายโอนส่วนใหญ่มีระบบข้อมูลสำหรับกลุ่มเป้าหมายเหมือนเดิม 5) ปัญหาอุปสรรคสำคัญคือ (1) ระบบฐานข้อมูลของ รพ.สต. ไม่เป็นปัจจุบัน (2) ฐานข้อมูลยังไม่เชื่อมโยงกับ อบจ. (3) บุคลากรขาดศักยภาพในการใช้ระบบข้อมูล (4) การไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงพอในการใช้งาน ระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมไม่ทันสมัย รวมถึงไม่มีผู้เชี่ยวชาญและผู้ดูแลระบบ (5) ช่องทางการติดต่อสื่อสารไม่เป็นสากล การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้แก่ประชาชนและผู้รับบริการยังไม่ทั่วถึง สำหรับข้อเสนอของ รพ.สต. ถึงแนวทางพัฒนาในอนาคต คือ (1) จัดหาบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้านระบบข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาดูแลระบบ (2) จัดให้มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัย (3) จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรและอบรมการบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วนทุกแห่ง (4) ควรจัดให้มีศูนย์ข้อมูลสุขภาพ (Health Data Canter) ร่วมกันในระดับจังหวัด เช่น สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.), อบจ. และ รพ.สต. เป็นต้น


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6132

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้