งานวิจัยมาใหม่แนะนำ
แชทบอทปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิตมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการให้บริการด้านสุขภาพจิตด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น การเข้าถึงง่าย การปิดบังตัวตนและความเป็นส่วนตัว การลดการตีตรา ลดภาระงานของบุคลากรด้านสุขภาพจิต เป็นเครื่องมือให้การช่วยเหลือในระยะเริ่มแรก สามารถให้การดูแลด้านสุขภาพจิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเครื่องมือให้แนวทางดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต สนับสนุนการทำงานของบุคลากรด้านสุขภาพจิตในแง่ของการบำบัดรักษา เป็นแหล่งให้ข้อมูล รวมถึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และสามารถต่อยอดได้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าการพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิตจะมีประโยชน์ แต่ในการพัฒนาแชทบอทดังกล่าวก็มีความยาก และมีข้อจำกัดทั้งในเรื่องของความเชี่ยวชาญและเรื่องของเทคโนโลยี ในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีหน่วยงานด้านสุขภาพจิตต่าง ๆ พยายามพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิตเพื่อให้บริการแก่กลุ่มประชากรและประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง แต่ไม่เพียงแต่ข้อจำกัดที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเท่านั้น การพัฒนาชั้นปลอดปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิตยังต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ งบประมาณและใช้ระยะเวลาในการพัฒนาค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลให้ความพยายามในการพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิตยังไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือช่วยเหลือทางจิตใจ เครื่องมือพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิต สนับสนุนและช่วยเหลือให้บุคลากรที่ไม่มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม หรือการเขียนโค้ดให้สามารถพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ได้สำเร็จ ด้วยรูปแบบการใช้งานแบบลากและวางโมเดลปัญญาประดิษฐ์พร้อมใช้สำหรับการวิเคราะห์อารมณ์และหัวข้อการสนทนา หลักสูตรการอบรมและการติดตามผล ทำให้ผลจากการดำเนินโครงการช่วยให้มีแชทบอทที่พัฒนาแล้วเสร็จและเปิดให้ใช้งานแล้วทั้งสิ้น 26 แชทบอท ซึ่งนอกจากในระยะเวลาการดำเนินโครงการ 18 เดือน จะทำให้ได้แชทบอท 26 แชทบอทที่เข้าถึงผู้ใช้งานกว่า 2,000 รายทั่วประเทศแล้ว การพัฒนาแชทบอทยังทำให้เกิดงานวิจัยอีก 6 งานวิจัยที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ดังนี้ 1. การศึกษาผลของการใช้งานแชทบอทสำหรับเรียนรู้วิธีการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีต่อระดับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม 2. การศึกษานำร่อง ผลของการใช้ดนตรีเพื่อการจัดการความเครียดผ่านทางแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ 3. ผลของการใช้งาน PSYSAM แชทบอทสุขภาพจิตที่มีต่อภาวะอารมณ์ความรู้ของผู้ป่วยเอชไอวีรายใหม่ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์แห่งหนึ่ง 4. การศึกษาผลของการใช้งานแชทบอทในการให้สุขภาพจิตศึกษาด้านภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นผ่านระบบหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติ 5. พัฒนาระบบหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติราชานุกูล: สำหรับผู้ปกครองของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า 6. พัฒนาระบบหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติราชานุกูล: สำหรับผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางภาษาและการพูด จะเห็นได้ว่า โครงการแพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือช่วยเหลือทางจิตใจเพื่อยกระดับการให้บริการสุขภาพจิตด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติในประเทศไทยด้วยปัญญาประดิษฐ์ มีส่วนอย่างมากในการพัฒนาการให้บริการสุขภาพจิตในหลากหลายรูปแบบและกลุ่มประชากร เอื้อต่อการวิจัย อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการบริการที่ยั่งยืนอีกด้วย
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้